Talk of The Town

เทียบฟอร์ม 3 แบรนด์ดัง เจ้าของ “หม้อสุกี้” ขวัญใจมหาชน


15 กรกฎาคม 2568

นับว่าเกิดเป็นความร้อนแรงยิ่งกว่าน้ำซุปในหม้อสุกี้ กับสงครามราคาบุฟเฟ่ต์ที่เจ้าตลาดได้ออกโปรโมชั่นต่างๆมาเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยล่าสุด MK สุกี้ ก็ได้เข้าสู่การแข่งขันอย่างเต็มตัว ด้วยการเปิดตัวแบรนด์ใหม่อย่าง “โบนัส สุกี้” แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า งบการเงินของ 3 แบรนด์ดัง เป็นเช่นไรในวันนี้ทางสำนักข่าว Share2 Trade จะพาไปดูเบื้องลึกกัน

เทียบฟอร์ม 3 แบรนด์ดัง_S2T (เว็บ) copy.jpg

เริ่มกันที่ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M ประกอบธุรกิจร้านอาหาร "เอ็ม เค สุกี้" ร้านอาหารญี่ปุ่น "ยาโยอิ" และ "ฮิคินิคุ โตะ โคเมะ" รวมถึงร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์อื่นๆ อีก 2 แบรนด์ ได้แก่ "ฮากาตะ" และ "มิยาซากิ" ร้านอาหารไทย "แหลมเจริญ ซีฟู้ด" "ณ สยาม" และ "เลอสยาม" ร้านกาแฟ/เบเกอรี่ "เลอ เพอทิท"

โดยล่าสุดก็ได้เปิดตัวแบรนด์บุฟเฟ่ต์อย่าง “โบนัส สุกี้” ที่จะเปิดให้บริการสาขาแรกวันที่ 16 ก.ค. ในราคาเริ่มต้น 219 บาท (276 บาทสุทธิ) และเปิดบริการตั้งแต่ 10.00–05.00 น. ซึ่งผลการดำเนินงานในปี 2567 ก็มีรายได้รวมอยู่ที่ 15,418 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 1,442 ล้านบาท

ถัดมาบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของแบรนด์ “สุกี้ตี๋น้อย” ที่ผู้บุกเบิกบุฟเฟต์ราคาไม่แพงหรือเริ่มต้นที่ 219 บาท (276 บาทสุทธิ) และยังมีหุ้นส่วนอย่างบริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เข้ามาถือหุ้นอยู่ที่ 30% ซึ่งในปี 2567 บริษัทก็มีรายได้รวมอยู่ที่  7,075 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,169 ล้านบาท 

สุดท้ายกับแบรนด์น้องใหม่ที่เข้าสู่ตลาดสุกี้บุฟเฟ่ต์ได้เมื่อไม่นาน “ลัคกี้ สุกี้” ของบริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด ที่ได้กลุ่มเพื่อนทั้ง 4 คน ก่อตั้งบริษัทดังกล่าวขึ้นในปี 2564 โดยได้ราคาเริ่มต้นของบุฟเฟต์เริ่มต้น 219 บาท (276 บาทสุทธิ) ในขณะที่ผลประกอบการในปี 2567 ก็มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,015 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 108 ล้านบาท 

เทียบฟอร์ม 3 แบรนด์ดัง_S2T (เพจ) copy.jpg