ล่าสุดทรัมป์ประกาศแจ้งอัตราภาษีสินค้าไทยอัตราเดิมที่กำหนดเมื่อ 2 เมษายนที่อัตรา 36% รวมถึงสินค้าที่ใช้ไทยเป็นทางผ่านในอัตราเดียวกัน และขู่หากไทยขึ้นภาษีตอบโต้ สหรัฐจะเก็บเพิ่มอีก พร้อมเปิดทางให้เจรจา หากเป็นผล ภาษีอาจเปลี่ยนแปลงได้ กำหนดมีผล 1 สิงหาคม 2568
ความเห็นนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มีมุมมองเป็นลบต่อกลุ่มส่งออก โดยสะท้อนว่าผลการเจรจาก่อนหน้านี้อาจยังไม่เป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามมองว่าการเลื่อนวัน effective เป็นวันที่ 1 ส.ค. ยังเปิด room ในการเจรจาอยู่
ขณะที่ล่าสุดรัฐบาลไทยมีการส่งข้อเสนอที่แก้ไขกลับไปใหม่ในวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ยังต้องติดตามความคืบหน้าผลการเจรจาและข้อเสนอหลังจากนี้ ทั้งนี้ยังมองว่ากลุ่มส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Food) ยังมีความเสี่ยงมากสุด เนื่องจากมีรายได้สหรัฐสูงถึง 50-60%
สำหรับ Pet Food (Neutral) ประเมิน sensitivity กรณีอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐอยู่ที่ 36% และยอดขายจากสหรัฐลดลง 36% ใกล้เคียงกับตัวเลขอัตราภาษีที่คาดว่าจะถูกเรียกเก็บ ประเมินจะกระทบกำไรปกติปี 2569 ของ AAI -20% และ ITC -15%
นอกจากนี้แม้ว่าระยะสั้นการ switch ไปสั่งซื้อประเทศอื่นยังทำได้ไม่เร็ว แต่มองว่ายังต้องติดตามความเสี่ยงดังกล่าวในระยะถัดไป โดยเฉพาะเวียดนาม ที่ปัจจุบันมีอัตราภาษีต่ำกว่าไทยที่ 20% (สหรัฐมีสัดส่วนการนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทยและเวียดนามที่ 34% และ 4% ตามลำดับ)
ขณะที่ TU (ถือ เป้าหมาย 10.50 บาท) มีสัดส่วนรายได้ส่งออกไปสหรัฐ 40% ขณะที่หากอิงอัตราภาษีนำเข้าก่อนการประกาศมาตรการในเดือน เม.ย. 2568 เดิมสหรัฐมีการเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องจากไทยราว 9-10% ประเมิน sensitivity กรณีอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐอยู่ที่ 36% จะกระทบกำไร TU ปี 2569 ราว -10%
ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ามะพร้าว PLUS (ถือ เป้าหมาย 3.50 บาท) มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐ 44% ประเมินยอดขายสหรัฐที่ลดลง -36% จะกระทบกำไรปกติของบริษัท 6-10% ขณะที่ COCOCO (ซื้อ เป้าหมาย 11.50 บาท) มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐ 24% ประเมินยอดขายสหรัฐที่ลดลง -36% จะกระทบกำไรปกติของบริษัท -4%
อย่างไรก็ตามมองว่าความต้องการผลิตภัณฑ์มะพร้าวไทยในตลาดโลกที่สูง และบริษัทมีปรับขึ้นราคาไปแล้วก่อนหน้านี้ ทำให้มองผลกระทบจำกัดต่อคำสั่งซื้อของลูกค้าที่ลดลง
ส่วน Industrial Estate (WHA, AMATA) จากอัตราภาษีของไทยที่ส่งออกไปสหรัฐสูงกว่าคู่แข่งในภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนาม 20% มาเลเซีย 25% จะมีนัยยะต่อต้นทุนการผลิตในไทยและส่งออกไปสหรัฐสูงกว่าคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้มีผลต่อการเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทยลดลงกระทบกลุ่มนิคมฯ
ขณะที่ NER (ถือ เป้าหมาย 5.00 บาท) แม้ปัจจุบันไม่มีสัดส่วนรายได้ส่งออกไปสหรัฐโดยตรง แต่มองว่าบริษัทมีโอกาสได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่ลูกค้าของบริษัทมีการส่งออกล้อยางไปสหรัฐ เบื้องต้นประเมินสำหรับยอดขายรวมของ NER ที่ลดลงทุกๆ 5% จะกระทบกำไรปี 2569 ที่ 6%
SAPPE (ถือ เป้าหมาย 33.50 บาท) มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐที่ 5% มองว่ากระทบจำกัด โดยหากปี 2569 ไม่มีรายได้จากสหรัฐจะกระทบกำไร -5%
และ EPG (ซื้อ เป้าหมาย 3.40 บาท) แนวโน้มกระทบไม่มาก โดยโรงงาน Aeroflex ที่สหรัฐมีการนำเข้าวัตถุดิบจากไทย จะกระทบต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น แต่บริษัทมีแผนปรับราคาขายขึ้นจากเดิม 5-10% ชดเชยต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยตาม tariff ที่จะเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจุบันคู่แข่งมีการขึ้นราคาไปแล้ว
ส่วนความเห็นนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด มองว่าหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็น TARIFFS
เป็นลบต่อ หุ้นส่งออกถูกกดดัน DELTA, CCET, KCE, HANA, TU, ITC, COCOCO, SAPPE หุ้นอิงการลงทุนWHA, AMATA, ROJNA
แต่เป็นบวกต่อ หุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาลง หุ้นปันผลสูง TIDLOR, MTC, SAWAD, KKP, TISCO, SPALI, LH, SIRI หุ้นปัจจัย 4 DEFENSIVE BDMS, BH, BCH
ยอดนิยม
%20copy_0.jpg)
โบรกฯชี้ หุ้นไทยรับแรงกระแทก หลัง “ทรัมป์” เก็บภาษีไทย 36% ฉุด SET Index วันนี้อาจร่วง 70 จุด
%20copy_0.jpg)
ITC-AAI เจ็บมากสุด! หลัง “ทรัมป์” เก็บภาษีไทยโหด โบรกฯชี้ฉุดกำไรปี 69 ดิ่ง 15-20%
%20copy_0.jpg)
ไทยโดนกรณีเลวร้ายสุด สหรัฐฯสั่งเก็บภาษี 36% ฉุด SET Index สิ้นปีต่ำกว่า 1,000 จุด
%20copy_0.jpg)
ทองคำพุ่ง! 250 บาท รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ผวา “ทรัมป์” จุดชนวนสงครามการค้า
%20copy_0.jpg)