Talk of The Town
รู้ยัง!สถิติราคาทองเดือน ก.ค.มักขยับขึ้น! จับตา FOMC–ทรัมป์ชี้ขาดภาษี ลุ้นทะลุแนวต้าน 3,360 ดอลลาร์
07 กรกฎาคม 2568
ราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในระยะกลางถึงยาว โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค ทั้งแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงความไม่แน่นอนจากนโยบายเศรษฐกิจของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่อาจส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะ

Aussiris Mext Gold Investment ระบุว่า ราคาทองคำสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวผันผวน โดยเริ่มจากการถูกขายออกเพียง 500 บาทในวันจันทร์ ก่อนขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 51,400 บาทในวันพฤหัสบดี (3 ก.ค.) และปรับลงมาอยู่ที่ 51,150–51,200 บาทในวันศุกร์
ขณะที่ราคาทองคำแท่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15:25 น.
บริษัท Ausiris ขายออกที่ 51,164 บาท
สมาคมค้าทองคำรายงานราคาขายออกที่ 51,200 บาท
ด้าน Gold Spot อยู่ที่ระดับ 3,344 ดอลลาร์
ทองคำปี 68 ผลตอบแทนเด่น
ในปี 68 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 25% (YTD) โดยราคาทองคำแท่งในประเทศทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 42,550 บาท และสูงสุดที่ 54,800 บาท ส่วน Gold Spot ขยับจากจุดต่ำสุดที่ 2,614 ดอลลาร์ ขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 3,500 ดอลลาร์
ดบ.ขาลง–ดอลลาร์อ่อน! หนุน
Fed มีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอีก 1 ครั้งในปี 2026 ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงแล้วกว่า 10% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อทองคำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนทางการคลัง
ด้านนโยบาย “One Big Beautiful Bill” ของทรัมป์ ที่เน้นลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่าย อาจสร้างภาระหนี้เพิ่มเติมถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ และกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในอนาคต ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้
ตลาดยังรอความชัดเจนจากปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่
1. เส้นตายการเจรจาการค้าสหรัฐฯ (9 ก.ค.) – หากไม่มีการขยายเส้นตายและมีการเก็บภาษีทั่วโลกจริง ทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้น
2. ประชุม FOMC (10 ก.ค. เวลา 01:00 น.) – หากมีสัญญาณเร่งลดดอกเบี้ย ทองจะได้แรงหนุน
3. ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (10 ก.ค. เวลา 19:30 น.)
4. ความเห็นของสมาชิก FOMC ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ (11 ก.ค. เวลา 01:00 น.)
ราคาทองเดือนก.ค.มักขยับขึ้น!
ข้อมูลเชิงสถิติระบุว่า ราคาทองคำในเดือนกรกฎาคมมักปรับตัวขึ้น โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทองคำเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideway Up ถึง 7 ปี สอดคล้องกับรูปแบบในปี 60 ที่ทองคำอ่อนตัวปลายมิถุนายน ก่อนจะฟื้นตัวดีในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางบริบทของทรัมป์ในตำแหน่งประธานาธิบดี
กลยุทธ์ลงทุน "ซื้อเมื่อย่อ"
ในระยะกลางถึงยาว แนะนำให้ทยอยสะสมทองคำโดยใช้กลยุทธ์ DCA (Dollar Cost Average) ในช่วงราคาทองคำอ่อนตัว โดยมีแนวรับที่น่าสนใจอยู่ที่ช่วง 48,000 – 51,000 บาท/บาททองคำ
เหมาะกับนักลงทุนที่มองถือครองระยะ 1–5 ปี
ในระยะสั้น (Gold Spot)
แนวต้านสำคัญ 3,360 ดอลลาร์ หากผ่านได้ มีโอกาสไปถึง 3,400–3,450 ดอลลาร์
แนวรับ 3,330 / 3,300 / 3,250 ดอลลาร์
หากยังไม่สามารถทะลุ 3,360 ดอลลาร์ได้ นักลงทุนฝั่งขายยังได้เปรียบ
ในระยะสั้น (ทองคำไทย)
แนวต้าน 51,300 บาท หากทะลุอาจเห็น 52,000 บาท
แนวรับ ประมาณ 51,000 บาท หากหลุด อาจย่อลงสู่ช่วง 50,000 ต้นๆ
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง เป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำในประเทศ

Aussiris Mext Gold Investment ระบุว่า ราคาทองคำสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวผันผวน โดยเริ่มจากการถูกขายออกเพียง 500 บาทในวันจันทร์ ก่อนขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 51,400 บาทในวันพฤหัสบดี (3 ก.ค.) และปรับลงมาอยู่ที่ 51,150–51,200 บาทในวันศุกร์
ขณะที่ราคาทองคำแท่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15:25 น.
บริษัท Ausiris ขายออกที่ 51,164 บาท
สมาคมค้าทองคำรายงานราคาขายออกที่ 51,200 บาท
ด้าน Gold Spot อยู่ที่ระดับ 3,344 ดอลลาร์
ทองคำปี 68 ผลตอบแทนเด่น
ในปี 68 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 25% (YTD) โดยราคาทองคำแท่งในประเทศทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 42,550 บาท และสูงสุดที่ 54,800 บาท ส่วน Gold Spot ขยับจากจุดต่ำสุดที่ 2,614 ดอลลาร์ ขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 3,500 ดอลลาร์
ดบ.ขาลง–ดอลลาร์อ่อน! หนุน
Fed มีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอีก 1 ครั้งในปี 2026 ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงแล้วกว่า 10% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อทองคำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนทางการคลัง
ด้านนโยบาย “One Big Beautiful Bill” ของทรัมป์ ที่เน้นลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่าย อาจสร้างภาระหนี้เพิ่มเติมถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ และกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในอนาคต ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้
ตลาดยังรอความชัดเจนจากปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่
1. เส้นตายการเจรจาการค้าสหรัฐฯ (9 ก.ค.) – หากไม่มีการขยายเส้นตายและมีการเก็บภาษีทั่วโลกจริง ทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้น
2. ประชุม FOMC (10 ก.ค. เวลา 01:00 น.) – หากมีสัญญาณเร่งลดดอกเบี้ย ทองจะได้แรงหนุน
3. ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (10 ก.ค. เวลา 19:30 น.)
4. ความเห็นของสมาชิก FOMC ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ (11 ก.ค. เวลา 01:00 น.)
ราคาทองเดือนก.ค.มักขยับขึ้น!
ข้อมูลเชิงสถิติระบุว่า ราคาทองคำในเดือนกรกฎาคมมักปรับตัวขึ้น โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทองคำเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideway Up ถึง 7 ปี สอดคล้องกับรูปแบบในปี 60 ที่ทองคำอ่อนตัวปลายมิถุนายน ก่อนจะฟื้นตัวดีในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางบริบทของทรัมป์ในตำแหน่งประธานาธิบดี
กลยุทธ์ลงทุน "ซื้อเมื่อย่อ"
ในระยะกลางถึงยาว แนะนำให้ทยอยสะสมทองคำโดยใช้กลยุทธ์ DCA (Dollar Cost Average) ในช่วงราคาทองคำอ่อนตัว โดยมีแนวรับที่น่าสนใจอยู่ที่ช่วง 48,000 – 51,000 บาท/บาททองคำ
เหมาะกับนักลงทุนที่มองถือครองระยะ 1–5 ปี
ในระยะสั้น (Gold Spot)
แนวต้านสำคัญ 3,360 ดอลลาร์ หากผ่านได้ มีโอกาสไปถึง 3,400–3,450 ดอลลาร์
แนวรับ 3,330 / 3,300 / 3,250 ดอลลาร์
หากยังไม่สามารถทะลุ 3,360 ดอลลาร์ได้ นักลงทุนฝั่งขายยังได้เปรียบ
ในระยะสั้น (ทองคำไทย)
แนวต้าน 51,300 บาท หากทะลุอาจเห็น 52,000 บาท
แนวรับ ประมาณ 51,000 บาท หากหลุด อาจย่อลงสู่ช่วง 50,000 ต้นๆ
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง เป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำในประเทศ
ยอดนิยม
%20copy_0.jpg)
9 ก.ค. วัดฝีมือทีมเพื่อไทย เจรจาภาษี! ชี้ชะตาเศรษฐกิจ-ตลาดหุ้น ถ้าพลาดโดนเก็บ 30% SET ดิ่งยับ
_0.jpg)
วงการ Infra Tech สะเทือน! สหรัฐฯ เล็งห้ามส่งชิป AI เข้าไทย กระทบจริง หรือ แค่กระแส?
_0.jpg)
ปลดล็อก! TRUE-ADVANC กสทช. ไฟเขียวประมูลคลื่น โบรกฯชี้เริ่มรับรู้กำไรตั้งแต่ส.ค.นี้
%20copy_0.jpg)
รู้ยัง!สถิติราคาทองเดือน ก.ค.มักขยับขึ้น! จับตา FOMC–ทรัมป์ชี้ขาดภาษี ลุ้นทะลุแนวต้าน 3,360 ดอลลาร์
%20copy_0.jpg)