Talk of The Town

เปิดสถิติดัชนีหุ้นไทย Q3 ย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยเพิ่มขึ้น โบรกฯมองกรอบ 1,050-1,180 จุด


01 กรกฎาคม 2568

จากการสำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่ประเทศไทย ในส่วนการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย 5 ปีย้อนหลังในช่วงไตรมาส 3 ของทุกปี พบ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง โดยมีรายละเอียดดังนี้

เปิดสถิติดัชนีหุ้นไทย Q3_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

Q3/2563  ดัชนีปรับตัวลดลง 7.62%

Q3/2564 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.13%

Q3/2565 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.35%

Q3/2566 ดัชนีปรับตัวลดลง 2.11%

Q3/2567 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.37%

บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า กลยุทธ์การลงทุนประจําไตรมาส 3/2025 ประเมินแม้ไทยจะเป็นจุดที่เล็กลงมากในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ สะท้อนผ่านนํ้าหนักของหุ้นไทยในดัชนีสําคัญต่างๆที่อยู่ตํ่าสุดเป็นประวัติการณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้น ก็คือระดับ Valuation ที่เริ่มกลับมาอยู่ในโซนที่น่าสนใจอีกครั้ง

โดยเฉพาะในมิติของ Implied Equity Risk Premium (ERP) ที่กลับขึ้นมายืนเหนือค่าเฉลี่ยได้แล้ว และอยู่ในจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2022 ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าในระยะสั้นเราอาจจะยังไม่ได้อานิสงส์ในเรื่องของ Fund flow มากนัก แต่เชื่อว่าแรงขายของนักลงทุนกลุ่มต่างๆก็จะอยู่ในกรอบจํากัดด้วยเช่นกัน จึงทําให้ภาพการแกว่งตัวของ SET Index ในไตรมาสที่ 3 นี้ น่าจะอยู่ในเชิง Upside จํากัด และ Downside ก็จํากัดด้วย

ประเมินกรอบการแกว่งตัวของ SET Index ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 1050-1180 จุดสําหรับกรอบแคบ และ 1000-1270 จุดสําหรับกรอบกว้าง อิงสมมุติฐานเริ่มต้นสําคัญที่สุดนั้นก็คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.50% เป็นอย่างน้อยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ในกรณีฐาน เรายังเชื่อว่าเสถียรภาพของการเมืองไทยในไตรมาสนี้น่าจะยังประคับประคองตัวต่อไปได้ แม้ว่ารัฐบาลจะมีเสียงปริ่มนํ้าในสภาล่างก็ตาม ด้วยเหตุนี้ หากให้เลือกกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจในไตรมาสนี้ เรามองว่าหุ้นกลุ่ม Domestic ที่ปรับตัวลงมาแรงก่อนหน้านี้เพราะความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ เพียงแต่ว่าเราเน้นความปลอดภัยส่วนหนึ่งไว้ก่อน ด้วยการ Selective ไปยังหุ้นกลุ่ม Domestic ที่มีคุณลักษณะ Defensive เพื่อป้องกันความเสี่ยง Tail risk ทางด้านการเมืองที่อาจอุบัติขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของรัฐบาลเสียงข้างน้อย การยุบสภาก่อนหน้าการโหวต พรบ.งบประมาณ หรือการทํารัฐประหาร เป็นต้น โดยสรุป หุ้นที่เราสนใจและแนะนําให้ถือครองในไตรมาสนี้จะได้แก่ กลุ่มสื่อสาร (ADVANC), กลุ่มโรงพยาบาล (BDMS), กลุ่มค้าปลีกจําเป็น (CPALL), และกลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF)

บล.บัวหลวง ระบุว่า คาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ผันผวนในกรอบ 1,060-1,120 จุด อิงปัจจัยในประเทศเป็นหลัก หากผ่านพ้นช่วงความเสี่ยงการเมืองในประเทศไปได้ เช่น การชุมนุมผ่านไปอย่างสงบ และแม้จะยังเป็นปัจจัยรบกวน ที่มาเป็นระลอกแต่ไม่รุนแรง ก็น่าจะหนุนหุ้นไทยรีบาวด์สลับย่อ เช่นเดียวกับความกังวลเรื่องอายุรัฐบาล ก็จะมีอิทธิพลต่อหุ้นไทย ลักษณะเดียวกัน

และเมื่อปัจจัยทั้งในและต่างประเทศเริ่มคลี่คลาย เราคาดว่า นักลงทุนคงกลับมาโฟกัสเรื่อง งบการเงิน บจ.สิ้นสุดไตรมาส 2 (ต่อด้วยเรื่องปันผลระหว่างกาล) ที่จะเป็นตัวช่วย จำกัดความเสี่ยงด้านล่างของตลาดหุ้นไทย หรืออาจซ้ำเติม ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับ ผลการดำเนินงาน ของแต่ละบริษัทฯ (แต่เราคาดว่าจะได้เรื่องปันผลสูงช่วยค้ำราคาหุ้นรายกลุ่ม)

โดยกลุ่มเด่นในแง่ของผลตอบแทนเงินปันผลสูง และแนวโน้มงบ 2Q25 ดี ได้แก่ หุ้นกลุ่ม ปตท. หุ้นกลุ่มเครือซีเมนต์ไทย อิงหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์และหุ้นที่เราคาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเห็นงบแย่กว่าคาด ได้แก่ ธนาคาร ไฟแนนซ์ ค้าปลีก ค้าวัสดุ สื่อสาร อสังหาฯ อิงตามรายงานพื้นฐานที่ BLS Research มีการทยอยปรับลดคำแนะนำ และคาดการณ์กำไรในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่มีการปรับลดคาดการณ์กำไร และคำแนะนำ ยังไม่ใช่ว่าจะพ้นความเสี่ยงราคาหุ้นโดนขายทำกำไร เช่น กลุ่มหมู ไก่ หุ้นส่งออก, กลุ่มท่องเที่ยว และโรงแรม เป็นต้น