Talk of The Town

หุ้นไทยรอบิ๊กตู่ช่วย? โบรกฯชี้ “ประยุทธ์” อาจคัมแบ็ค SET มีลุ้นเด้งแรง แตะ 1,200 จุด


01 กรกฎาคม 2568

หุ้นไทยรอบิ๊กตู่ช่วย_S2T (เว็บ)_0.jpg

นักวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์การเมือง มีโอกาสเป็นไปได้ 3 ทาง แต่ที่น่าสนใจ กรณีที่ 2 นายกรัฐมนตรีลาออกหรือถูกศาลสั่งให้ออกจากตำแหน่ง รัฐสภาลงมติเลือกอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้ตลาดฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่เป้าหมายแรกสิ้นปี 1,200 จุด

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเลือกตั้งในปี 66 นำไปสู่สูตรการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยและกลุ่มอนุรักษ์นิยม แต่ในระยะสั้นนี้เห็นความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสูตรการเมืองที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวนายกรัฐมนตรี ขณะที่ภาพรวมในระยะยาวเรายังมองว่าอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะยังคงอยู่

ระยะยาว – ระบอบอำนาจเก่าจะคงอยู่ต่อไป

ประเทศไทยตั้งแต่การรัฐประหาร ถูกบริหารโดยระบอบอนุรักษ์นิยมที่ได้รับการสนับสนุนจากทหาร จากนั้น เมื่อพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทหารไม่สามารถรักษาพรรคให้เป็นพรรคใหญ่ได้ การเมืองไทยตั้งแต่การเลือกตั้งปี 66 จึงดำเนินไปในรูปแบบผสมระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมและพรรคเพื่อไทย (พท.) โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นผู้นำพรรค แม้พรรคเพื่อไทยจะเป็นผู้นำรัฐบาลผสม แต่ก็ยังคงดำเนินงานภายใต้ร่มเงาของระบอบอนุรักษ์นิยม ในมุมมองระยะยาว ระบอบอนุรักษ์นิยมจะคงอยู่ต่อไป และสามารถผ่านความปั่นป่วนทางการเมือง ขณะที่อำนาจของพรรคเพื่อไทยมีความเสี่ยงที่จะค่อยๆ เลือนหายไป

ระยะสั้น – โอกาสเปลี่ยนตัวนายกสูง

รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยยังมีวาระเหลืออีกประมาณสองปีก่อนจะครบวาระในปี 67 อย่างไรก็ตาม บทสนทนาส่วนตัวทางโทรศัพท์เกี่ยวกับความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับผู้นำโดยพฤตินัยของกัมพูชา ฮุน เซน ที่หลุดออกมาได้สร้างความปั่นป่วนทางการเมือง ซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคเพื่อไทย รัฐบาลยังเผชิญกับกระแสความไม่พอใจจากสาธารณชนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และนโยบายของรัฐบาลที่เรามองว่าล่าช้าและประสิทธิภาพน้อย มองว่ารัฐบาลอาจผ่านกระแสนี้ไม่ไหวและจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี 

สถานการณ์ของการเปลี่ยนผ่าน

ขอนำเสนอ 3 กรณี (scenario) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีจุดร่วมคือจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ภายในปีนี้ กรณีที่ 1 (S1): นายกรัฐมนตรีลาออก หรือศาลรัฐธรรมนูญสั่งถอดถอน และสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคเพื่อไทย รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยยังคงอยู่ต่อไปอีกประมาณ 6-9 เดือน และเกิดแรงกดดันอีกครั้งให้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในปี 69 ขณะที่ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 69 ได้รับการอนุมัติทันตามกำหนดในเดือนกันยายนปีนี้ 

กรณีที่ 2 (S2): นายกรัฐมนตรีลาออกหรือถูกศาลสั่งให้ออกจากตำแหน่ง และรัฐสภาลงมติเลือกอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ต้องหลังจากที่เขาลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี รัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมจะจัดตั้งขึ้นและจะอยู่ในตำแหน่งจนถึงสิ้นวาระในปี 70 โดยร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 69 ก็ได้รับการอนุมัติในเดือนกันยายนปีนี้เช่นกัน 

กรณีที่ 3 (S3): นายกรัฐมนตรียุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงครึ่งหลังปี 68 ซึ่งส่งผลให้การอนุมัติร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 69ล่าช้าออกไป 

ดังนั้นมองว่ามีความเป็นไปได้ 60/30/10% ในกรณี 1-3 ข้างต้น มองว่า S1 จะไม่มีผลต่อตลาดซึ่งคงเซื่องซึมต่อไป S2 มีแนวโน้มทำให้ตลาดฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (relief rally)  โดยหยุดที่เป้าหมายแรกที่ SET target สิ้นปีของที่ 1,200 จุด และ S3 เป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากการอนุมัติงบประมาณที่ล่าช้าและความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้ง ซึ่งอาจดึง SET ลงมาต่ำกว่า 1,000 จุด