Talk of The Town

CREDIT เผยกำไรปี 66 แตะ 3.5 พันลบ.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สินเชื่อโต 18.8 % ส่วน NPL อยู่ที่ 4.2%


08 กุมภาพันธ์ 2567
ด้านตัวเลขสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 จากเดิม4,734.4 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็น 6,1 15.6 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่ดาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLs ratio) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.9 ณ วันที่ 31ธันวาคม 2565 เป็นร้อยละ 4.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 

แบงก์ไทยเครดิต สร้างสถิติ copy_0.jpg

 
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (CREDIT) เปิดเผยถึงสรุปผลการดำเนินงานของธนาคารฯ สำหรับปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 (ก่อนตรวจสอบ) ว่า

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารฯ มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ
3,556.8 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.2 ทำสถิติสูงสุดในประวัติการณ์ โดยรายได้ดอกเบี้ยของธนาคารฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6สอดคล้องกับเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เติบโตเท่ากับร้อยละ 18.8 จากปริมาณเงินให้สินเชื่อที่เติบโตเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลักของธนาคารฯ โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย และสินเชื่อบ้าน ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารฯ

นอกจากนี้ธนาคารฯ มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานของธนาคารฯ ลดลงเท่ากับร้อยละ 36.7 จากร้อยละ 39.5 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

โดยอัตราส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในปี 2566 ของธนาคารฯ อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากการ
เพิ่มขึ้นของตันทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยของธนาคารฯ สอดคล้องการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. และมาตรการ
ลดหย่อนค่าเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) สิ้นสุดลงในปี 2565 อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิต่อส่วนของเจ้าของในปี 2566 สูงขึ้นจากร้อยละ 18.94 เป็นร้อยละ 22.31 ทั้งนี้ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับเงินให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เพื่อรักษาระดับของ Coverage ratio ในระดับสูงเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้จากกำไรสำหรับปีสุทธิ เท่ากับ 3,556.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.2 จากเดิม 2,352.5 ล้านบาท นั้น
อย่างไรก็ตามกำไรต่อหุ้นของธนาคารฯ เท่ากับ 3.05 บาทต่อหุ้นในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 2.28 บาทต่อหุ้นในปี 2565 (โดย
กำไรต่อหุ้นในปี 2565 คำนวณจากจำนวนหุ้นที่เปลี่ยนไปภายหลังจากธนาคารฯ เปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นจากมูลค่าหุ้นละ 10.0 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 5.0 บาท ในไตรมาส 1 ปี 2566 ส่งผลให้จำนวนหุ้นสามัญ (Paid-up capital) เพิ่มขึ้นจาก582,291,666 หุ้น เป็น 1,164,583,332 หุ้น)


ด้านตัวเลขสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 จากเดิม4,734.4 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็น 6,1 15.6 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่ดาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLs ratio) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.9 ณ วันที่ 31ธันวาคม 2565 เป็นร้อยละ 4.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 

โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จาก ธปท. ส่งผลให้สินเชื่อด้อยคุณภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังคงไม่แน่นอนจากปัจจัยมหภาค (Macroeconomic) ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารฯ เช่นปัจจัยเงินเฟ้อที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์จากสงครามรัสเซียและยูเครน การชะลอตัวของภาคส่งออกของไทย และอุปสงค์ภายในประเทศยังคงฟื้นตัวช้า