Smart Investment
หุ้นไทยดิ่ง! มูลค่าหาย 7.3 ล้านลบ. SET ดึงเบรก HFT–Short Sell หุ้นเล็ก หวั่นตลาดไร้คนตัวเล็ก เหลือแต่บิ๊กทุนเก็งกำไร
13 กรกฎาคม 2568
เริ่มแล้ว! 7 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) อนุญาตให้มีการ Short Sell และใช้โปรแกรม HFT ได้เฉพาะหุ้นใน SET100 ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ 100 อันดับแรก รวมถึง DW และ DR เท่านั้น

....จากเดิมที่เปิดให้ใช้งานในหุ้นทุกตัว ส่งผลให้หุ้นอีกกว่า 760 ตัวพ้นขอบเขตการถูกเทรดด้วยระบบอัตโนมัติและการขายชอร์ต
สัปดาห์นี้ Mr.Data ชวนมาผ่ามุมมองของ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ ส.ว. ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม (กมธ.ไอซีที) วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ "ท่องโลกการลงทุน" ร่วมกับ ดร.ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ประธานบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ต้นธารคอร์ปอเรชั่น ว่า คิดเห็นอย่างไรกับมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯออกมา
...มาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดข้อครหาที่ว่า “รายย่อยเสียเปรียบ–ต่างชาติครองตลาด”
แต่กลับกลายเป็นการจุดประเด็นใหม่ว่า ตลาดหุ้นไทยกำลังแยกตัวเป็น 2 ระบบ คือ ตลาดที่มีความเสี่ยงสูง (SET100) สำหรับนักลงทุนมืออาชีพ
และตลาดนอก SET100 สำหรับผู้ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับความผันผวนจากอัลกอริทึมและนักลงทุนต่างชาติ
...ในช่วงก่อนหน้านี้ SET เปิดให้ใช้ HFT ได้ในหุ้นทุกตัว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์จากนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก ว่าถูกเอาเปรียบจากนักลงทุนต่างชาติและบริษัทที่มีระบบเทรดความเร็วสูง ซึ่งสามารถเข้าซื้อ–ขายในระดับมิลลิวินาทีได้ก่อนคนทั่วไป ส่งผลให้รายย่อยขาดโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ ICT เผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากนักลงทุนไทยจำนวนมาก และมีการหารือร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯและหน่วยงานเกี่ยวข้องแล้ว โดยย้ำว่า หากกฎเกณฑ์ใหม่นี้ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นได้ จะมีการเรียกผู้บริหารตลาดฯมาชี้แจงเพิ่มเติม
....ผู้มีบทบาทสำคัญในแวดวงลงทุนต่างวิพากษ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก HFT และ Short Sell พร้อมเสนอทางออก
"สารัชถ์ รัตนาวะดี" (เสี่ยกลาง) วิเคราะห์ว่า สภาพคล่องในตลาดหายไป กองทุนเมิน IPO นักลงทุนรายย่อยถอย เพราะถูก HFT ควบคุมจังหวะตลาด
"ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรฐมนตรี ชี้ว่า HFT ทำให้ตลาดเสียความเท่าเทียม และหน่วยงานกำกับตรวจสอบล่าช้า ขาดความโปร่งใส
"วิชัย วชิรพงศ์" (เสี่ยยักษ์) เห็นว่า HFT และ Short Sell ควรถูกควบคุมเฉพาะในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องสูงเท่านั้น เช่น 25–50 ตัวแรก มากกว่าการเปิดให้ครบ 100 ตัว
...แม้มาตรการใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯจะเป็นความพยายามในการหาสมดุลระหว่าง “เทคโนโลยี” กับ “ความเป็นธรรม” แต่หลายฝ่ายยังคงมองว่าเป็นเพียงการประคองปัญหา มากกว่าการแก้ไขโครงสร้างโดยตรง
หากไม่เร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่น และเร่งควบคุมพฤติกรรมเก็งกำไรผ่านระบบอัตโนมัติ ตลาดหุ้นไทยอาจเผชิญกับภาวะ “ไร้ตัวตนรายย่อย” และกลายเป็นสนามเฉพาะของ "ผู้เล่นทุนหนา" ในระยะยาว!!!

....จากเดิมที่เปิดให้ใช้งานในหุ้นทุกตัว ส่งผลให้หุ้นอีกกว่า 760 ตัวพ้นขอบเขตการถูกเทรดด้วยระบบอัตโนมัติและการขายชอร์ต
สัปดาห์นี้ Mr.Data ชวนมาผ่ามุมมองของ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ ส.ว. ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม (กมธ.ไอซีที) วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ "ท่องโลกการลงทุน" ร่วมกับ ดร.ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ประธานบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ต้นธารคอร์ปอเรชั่น ว่า คิดเห็นอย่างไรกับมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯออกมา
...มาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดข้อครหาที่ว่า “รายย่อยเสียเปรียบ–ต่างชาติครองตลาด”
แต่กลับกลายเป็นการจุดประเด็นใหม่ว่า ตลาดหุ้นไทยกำลังแยกตัวเป็น 2 ระบบ คือ ตลาดที่มีความเสี่ยงสูง (SET100) สำหรับนักลงทุนมืออาชีพ
และตลาดนอก SET100 สำหรับผู้ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับความผันผวนจากอัลกอริทึมและนักลงทุนต่างชาติ
...ในช่วงก่อนหน้านี้ SET เปิดให้ใช้ HFT ได้ในหุ้นทุกตัว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์จากนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก ว่าถูกเอาเปรียบจากนักลงทุนต่างชาติและบริษัทที่มีระบบเทรดความเร็วสูง ซึ่งสามารถเข้าซื้อ–ขายในระดับมิลลิวินาทีได้ก่อนคนทั่วไป ส่งผลให้รายย่อยขาดโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ ICT เผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากนักลงทุนไทยจำนวนมาก และมีการหารือร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯและหน่วยงานเกี่ยวข้องแล้ว โดยย้ำว่า หากกฎเกณฑ์ใหม่นี้ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นได้ จะมีการเรียกผู้บริหารตลาดฯมาชี้แจงเพิ่มเติม
....ผู้มีบทบาทสำคัญในแวดวงลงทุนต่างวิพากษ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก HFT และ Short Sell พร้อมเสนอทางออก
"สารัชถ์ รัตนาวะดี" (เสี่ยกลาง) วิเคราะห์ว่า สภาพคล่องในตลาดหายไป กองทุนเมิน IPO นักลงทุนรายย่อยถอย เพราะถูก HFT ควบคุมจังหวะตลาด
"ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรฐมนตรี ชี้ว่า HFT ทำให้ตลาดเสียความเท่าเทียม และหน่วยงานกำกับตรวจสอบล่าช้า ขาดความโปร่งใส
"วิชัย วชิรพงศ์" (เสี่ยยักษ์) เห็นว่า HFT และ Short Sell ควรถูกควบคุมเฉพาะในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องสูงเท่านั้น เช่น 25–50 ตัวแรก มากกว่าการเปิดให้ครบ 100 ตัว
...แม้มาตรการใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯจะเป็นความพยายามในการหาสมดุลระหว่าง “เทคโนโลยี” กับ “ความเป็นธรรม” แต่หลายฝ่ายยังคงมองว่าเป็นเพียงการประคองปัญหา มากกว่าการแก้ไขโครงสร้างโดยตรง
หากไม่เร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่น และเร่งควบคุมพฤติกรรมเก็งกำไรผ่านระบบอัตโนมัติ ตลาดหุ้นไทยอาจเผชิญกับภาวะ “ไร้ตัวตนรายย่อย” และกลายเป็นสนามเฉพาะของ "ผู้เล่นทุนหนา" ในระยะยาว!!!
