จับประเด็นหุ้นเด่น

สัมภาษณ์พิเศษ : PCE วางโรดแมปอนาคตธุรกิจ สร้างโรงงานเพิ่ม ลดต้นทุนการผลิต แตกไลน์บุกตลาด Consumer Product


23 พฤษภาคม 2568

ราคาปาล์มน้ำมันปีนี้มีทิศทางขาขึ้นเมื่อเทียบกับหลายๆปีที่ผ่านมา  ซึ่งราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลอย่างต่อธุรกิจ และแนวโน้มธุรกิจในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มอย่างไร เราไปติดตามมุมมองนี้ กับ นายพรพิพัฒน์ ประสิทธิ์ศุภผล รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ  บมจ.เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ (PCE)  ผู้นำอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทย

PCE วางโรดแมป_สัมภาษณ์พิเศษ S2T (เว็บ)_0.jpg

ธุรกิจของ PCE 

บริษัทประกอบธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 4 ธุรกิจ ดังนี้

1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ภายใต้แบรนด์ รินทิพย์  

2) ธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ

3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ 

4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

โดยมีบริษัทย่อย  5 แห่ง  ได้แก่  1.บริษัทนิวไบโอดีเซล จำกัด 2.บริษัท พี.เค.มารีน เทรดดิ้ง จำกัด 3.บริษัท พี.ซี.มารีน (1992) จำกัด 4.บริษัทปาโก้ เทรดดิ้ง จำกัด 5. บริษัท เพรชศรีวิชัย จำกัด 

ความแข็งแกร่งของบริษัทหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

หุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67  โดยเงินที่ได้รับจากการขายหุ้น นำมาลงทุนด้าน AI  เพื่อช่วยคัดเลือกปาล์ม  ลด Lose  ของโรงกลั่นและโรงสกัด  และบริษัทยังนำเงินบางส่วนไปสร้างโรงงาน ขยายกำลังการผลิต ให้มากกว่าเดิมอีก 1 เท่าตัว  เพื่อรองรับผลปาล์มที่มีปริมาณมากขึ้น และนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโรงสกัดใหม่  ที่เรามีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิต 

มองดีมานน้ำมันปาล์มในตลาด 

ในตลาดมีความต้องการมากขึ้น เพราะน้ำมันปาล์ม เป็นส่วนประกอบในทุก sector  Consumer   เช่น   การนำมาประกอบอาหาร   เป็นพลังงาน ไบโอดีเซล   เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง   ซึ่งในทุกๆปีเกษตรกรไทยจะมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นปีละ 5%  ทำให้เราเห็นว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า  ผลผลิตของน้ำมันปาล์มจะมีปริมาณมากขึ้น  ทำให้เราต้องเตรียมตัว โดยการสร้างโรงงาน เพื่อรองรับผลผลิตที่มากขึ้น และ เพื่อไม่ให้เสียโอกาส 

เกี่ยวกับธุรกิจด้านการขนส่ง

แม้สงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้า  แต่ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อ PCE  ในทางกลับกันกับเป็นผลดีที่บริษัทมีธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของตัวเอง  ทั้งด้านรถขนส่ง  มีเรือส่งสินค้า   มีคลังเก็บสินค้าของเราเอง  ทำให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ 

ปี 68 มีเป้าหมายอย่างไร 

ปี 2568 คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 30,000 ล้านบาท  หรือเติบโตประมาณ 10% โดยมีแนวโน้มว่าการส่งออกน้ำมันปาล์มไปจีน และอินเดียยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี และบริษัทฯ เตรียมแผนขยายกำลังการผลิต เน้นเพิ่มมูลค่าสินค้า  เพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย  เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่มีมากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ รวมถึงได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

แนวทางการรับมือกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 

ปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง การทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดเป็นสิ่งที่สำคัญต่อบริษัท ทำให้บริษัทมีแนวคิดที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบ ( Law Material) ภายในกลุ่มบริษัทให้แตะที่ 75%  จากปัจจุบันที่มีแค่ 25%  ซึ่งคาดว่าแนวทางเพิ่มสัดส่วน Law Material ของบริษัทจะเห็นภาพภายในปี2568 

ขณะเดียวกันบริษัทกำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดกระบี่   เราจะเน้นการใช้เครื่องจักรในการผลิตทำให้ใช้แรงงานคนลดลง  และทำให้ต้นทุนเราลดลง  โดยปัจจุบันบริษัทมีพนักงานทั้งหมดประมาณ 1,000 คน  

ซึ่งมาร์เก็ตแชร์ของเราในตลาดอยู่ที่ 30-40%  ซึ่งหากบริษัทมีการขยายโรงงานและเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นในอนาคต  คาดว่าจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของเราเป็น 50%

การสร้างโรงงานใหม่จะลดต้นทุนได้เท่าไร

หากสร้างโรงงานใหม่ได้ จะทำให้ต้นทุนลดลงได้ประมาณ 5%  จากปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นโรงงานที่ใช้แรงงานคนน้อยมาก  จะเน้นเรื่องของออโตเมติก  

การรับมือกับคู่แข่งของบริษัท

จริงๆเรื่องคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ  เนื่องจากปัจจุบัน yield ในการผลิตสินค้าเริ่มใกล้เคียงกันแล้ว  จึงอยู่ที่ว่าวิธีการเก็บผลผลิตเป็นอย่างไร  ซึ่งหากดูการบริหารของบริษัทในอินโดนีเซียจะเป็นผู้บริหารระดับGEN 3 แล้ว ซึ่งจะมีการทำงานน้อยลง แต่ในประเทศไทยยังเป็น GEN2  ทำให้การปลูกปาล์มในประเทศไทย ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในภาคอื่น  เช่นอีสาน  จากเดิมที่มีการปลูกแค่ในภาคใต้ 

แผนการลงทุนในช่วง 3 ปีข้างหน้า

เราตั้งเป้าว่าใน 3 ปีข้างหน้า เราจะไปทางธุรกิจที่มีการนำผลผลิตปาล์มไปในการทำเกี่ยวกับ Food และConsumer ให้มากขึ้น  และสินค้าที่มี High margin product   แต่เนื่องจากบริษัทชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ แต่ไม่เก่งในด้านการทำตลาด ดังนั้นอาจจะต้องหาพันธมิตรที่สามารถมาเสริมจุดอ่อนของกันและกัน   

เรารับมือกับมาตรฐานการส่งออกไปต่างประเทศอย่างไร 

แนวทางที่สำคัญได้แก่  

1. การปรับตัวให้เป็นไปตามมาตรฐานการส่งออกไปต่างประเทศ 

2. ส่งออกน้ำมันใช้แล้ว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในยุโรป  

3. ทำกิจกรรม CSR กับชุมชน เพื่อให้เกษตรกรมีการปรับตัวมากขึ้นให้เป็นตามมาตรฐานการส่งออก โดยบริษัทมีการสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุง

สำหรับตลาดส่งออกไปสหรัฐอเมริกา

เราวางแผนไว้อีกประมาณ 3 ปี จะส่งออกสินค้าที่มีการต่อยอดไปสหรัฐฯ  หลังจากที่ปัจจุบันบริษัทสร้างโรงสกัดเสร็จ  เพื่อทำให้ต้นทุนลดลง โดยการส่งออกเราจะเน้นไปในสินค้าประเทศ ส่วนผสมเครื่องสำอาง หรือส่วนผสมของยาง  ส่วนผสมในอาหาร เช่น ช็อคโกแลต

PCE