ราคาทองในเดือนพฤษภาคม ออกอาการเสียทรง หลังสหรัฐและจีน ประกาศบิ๊กดีลความสำเร็จในการเจรจาภาษีการค้า โดยสหรัฐตัดสินใจลดภาษีสินค้าจีนเหลือ ส่วนจีนลดภาษีสหรัฐเหลือ 10% เป็นระยะเวลา 90 วัน

...โดยราคาทองร่วงแรงทดสอบจุดต่ำสุดในรอบ 1 เดือน และถือเป็นเดือนแรกที่ราคาทองผลตอบแทนติดลบ โดยราคาทองคำแท่งในเดือนพ.ค.-15 พ.ค.2568 ลดลงกว่า 1,750 บาท ราคาต่ำสุดที่ 49,500 บาท และสูงสุดที่ 52,850 บาท
ทองคำแท่งรับซื้อคืน 50,050.00 บาท ขายออก 50,150.00 บาท
ทองรูปพรรณรับซื้อคืน 49,148.72 บาท ขายออก 50,950.00 บาท
ส่วนราคาทอง Gold spot อยู่ที่ 3,176.00 ดอลลาร์/ออนซ์ (ณ วันที่ 15 พ.ค.68)
เทียบเดือนมกราคม +2,050 บาท เดือนกุมภาพันธ์ +1,850 บาท เดือนมีนาคม +3,750 บาท เดือนเมษายน +1,950 บาท เดือนพฤษภาคม -1,750 บาท
...อย่างไรก็ตาม ภาพรวมราคาทองคำใน 5 เดือนแรกของปี 2568 ยังให้ผลตอบแทนสูงถึง 7,500 บาท เทียบปี 2567 ทั้งปี ให้ผลตอบแทน 8,750 บาท
แล้วบริษัทชั้นนำของโลกมีมุมมองแนวโน้มราคาทองคำอย่างไร?
Goldman Sachs คาดการณ์ราคาทองในปี 2568 มีโอกาสแตะ 3,700 ดอลลาร์ และมองว่าใน 12 เดือนข้างหน้ามีโอกาสแตะ 4,500 ดอลลาร์ โดยให้น้ำหนักกับความต้องการทองคำจากธนาคารกลางที่แข็งแกร่งกว่าคาด กระแสเงินไหลเข้า ETF ทองคำที่เพิ่มขึ้น ตามความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่สูงขึ้น
JP Morgan คาดภายในไตรมาส 2/69 ราคาแตะ 4,000 ดอลลาร์ เนื่องจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างราคาทองคำในปัจจุบัน จากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงด้านภาวะถดถอย อุปสงค์ทองคำที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน และธนาคารกลาง เพิ่มน้ำหนักทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ อีกทั้งทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
Bank of Amerıca (BofA) คาดภายในครึ่งหลังปี 2568 ราคาทองมีโอกาสแตะ 4,000 ดอลลาร์ จากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดจากการค้าโลกเป็นแรงผลักดันที่ใหญ่ที่สุดในการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำก่อนสิ้นปี 2568
...ส่องปัจจัยพื้นฐานราคาทองจาก”อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต”
โอกาสลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
Ausiris Next Gold Investment สรุปและวิเคราะห์การพัฒนาของปัจจัยพื้นฐานทองคำ ใน 3 ช่วงเวลา คือ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ ไม่ว่าจะเป็น 1.เศรษฐกิจโลก 2.อัตราดอกเบี้ย และ 3.เงินเฟ้อ

...โดยราคาทองร่วงแรงทดสอบจุดต่ำสุดในรอบ 1 เดือน และถือเป็นเดือนแรกที่ราคาทองผลตอบแทนติดลบ โดยราคาทองคำแท่งในเดือนพ.ค.-15 พ.ค.2568 ลดลงกว่า 1,750 บาท ราคาต่ำสุดที่ 49,500 บาท และสูงสุดที่ 52,850 บาท
ทองคำแท่งรับซื้อคืน 50,050.00 บาท ขายออก 50,150.00 บาท
ทองรูปพรรณรับซื้อคืน 49,148.72 บาท ขายออก 50,950.00 บาท
ส่วนราคาทอง Gold spot อยู่ที่ 3,176.00 ดอลลาร์/ออนซ์ (ณ วันที่ 15 พ.ค.68)
เทียบเดือนมกราคม +2,050 บาท เดือนกุมภาพันธ์ +1,850 บาท เดือนมีนาคม +3,750 บาท เดือนเมษายน +1,950 บาท เดือนพฤษภาคม -1,750 บาท
...อย่างไรก็ตาม ภาพรวมราคาทองคำใน 5 เดือนแรกของปี 2568 ยังให้ผลตอบแทนสูงถึง 7,500 บาท เทียบปี 2567 ทั้งปี ให้ผลตอบแทน 8,750 บาท
แล้วบริษัทชั้นนำของโลกมีมุมมองแนวโน้มราคาทองคำอย่างไร?
Goldman Sachs คาดการณ์ราคาทองในปี 2568 มีโอกาสแตะ 3,700 ดอลลาร์ และมองว่าใน 12 เดือนข้างหน้ามีโอกาสแตะ 4,500 ดอลลาร์ โดยให้น้ำหนักกับความต้องการทองคำจากธนาคารกลางที่แข็งแกร่งกว่าคาด กระแสเงินไหลเข้า ETF ทองคำที่เพิ่มขึ้น ตามความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่สูงขึ้น
JP Morgan คาดภายในไตรมาส 2/69 ราคาแตะ 4,000 ดอลลาร์ เนื่องจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างราคาทองคำในปัจจุบัน จากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงด้านภาวะถดถอย อุปสงค์ทองคำที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน และธนาคารกลาง เพิ่มน้ำหนักทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ อีกทั้งทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
Bank of Amerıca (BofA) คาดภายในครึ่งหลังปี 2568 ราคาทองมีโอกาสแตะ 4,000 ดอลลาร์ จากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดจากการค้าโลกเป็นแรงผลักดันที่ใหญ่ที่สุดในการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำก่อนสิ้นปี 2568
...ส่องปัจจัยพื้นฐานราคาทองจาก”อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต”
โอกาสลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
Ausiris Next Gold Investment สรุปและวิเคราะห์การพัฒนาของปัจจัยพื้นฐานทองคำ ใน 3 ช่วงเวลา คือ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ ไม่ว่าจะเป็น 1.เศรษฐกิจโลก 2.อัตราดอกเบี้ย และ 3.เงินเฟ้อ
อดีต
-
เศรษฐกิจโลก: ผูกกับทองคำ (Gold Standard) ทำให้ทองคำมีบทบาทสูงในระบบเศรษฐกิจ
-
อัตราดอกเบี้ย: ผันผวนตามเศรษฐกิจ
-
เงินเฟ้อ: ค่อนข้างต่ำและคงที่ ทองคำใช้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ปัจจุบัน
-
เศรษฐกิจโลก: มีผลต่อราคาทองคำ เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
-
อัตราดอกเบี้ย: ขึ้นลงตามภาวะเงินเฟ้อ/นโยบายธนาคารกลาง ทำให้ราคาทองมีความผันผวน
-
เงินเฟ้อ: สูงขึ้น ทำให้ทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง
อนาคต
-
เศรษฐกิจโลก: มีความไม่แน่นอนจากภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจดิจิทัล
-
อัตราดอกเบี้ย: ผันผวนสูง ขึ้นอยู่กับวิกฤตและความเสี่ยงต่าง ๆ
-
เงินเฟ้อ: ทองคำยังคงมีบทบาทเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven)
