Talk of The Town

พบ OSP จ่ายปันผลปี 66 มากสุดรอบ 5 ปี


29 กุมภาพันธ์ 2567

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ระบุว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติเห็นชอบ การจ่ายเงินปันผลประจำปี2566จากผลการดำเนินงานและจากกำไรสะสมในอัตรา 1.65 บาทต่อหุ้นรวมเป็นเงิน 4,956 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทได้จ่ายระหว่างกาลไปแล้ว 2ครั้งได้แก่ การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งพิเศษจากเงินที่บริษัทฯได้รับจากจำหน่ายหุ้นบริษัท ยูนิ.ชาร์ม(ประเทศไทย) จำกัด ที่โอสถสภาถือหุ้นส่วนน้อยในอัตรา 0.80 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 2,403 ล้านบาท และได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2566 จ่ายปันผลระหว่างกาลในงวดผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกอีกในอัตราหุ้นละ 0.40 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 1,201 ล้านบาท

นิติ โอสถานุเคราะห์ เป๋าตุง!รับปันผล 1-1 copy.jpg

บริษัทยังคงเหลือจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานในงวดครึ่งปีหลังของปี 2566 และจากกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรในอัตรา 0.45 บาท รวมเป็นเงิน 1,345 ล้านบาท โดยจะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิไดรับเงินปันผลในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 และกำหนดจ่าย่เงินปันผลให้ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 หลังจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567ได้รับการมติอนุมัติ

ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าในปี 2566 OSP จ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 1.65 บาทต่อหุ้น ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่จ่ายมากสุดหากเทียบในอดีต 5 ปีที่ผ่านมา โดยผลการดำเนินงานในรอบปี 2565 จ่ายเงินปันผลอัตรา 0.9 บาทต่อหุ้น ในปี 2564 จ่ายเงินปันผลอัตรา 1.1 บาทต่อหุ้น ในปี 2563  จ่ายเงินปันผลอัตรา 1.1 บาทต่อหุ้น ในปี 2562 จ่ายเงินปันผลอัตรา 1บาทต่อหุ้น และปี 2561จ่ายเงินปันผลอัตรา 0.69 บาทต่อหุ้น 

บล.เคจีไอ  ระบุว่า แนะนำถือหุ้น OSP ราคาเป้าหมาย 26.50 บาท เนื่องจาก กำไรสุทธิของ OSP ใน 4Q66 อยู่ที่ 435 ล้านบาท (-32% QoQ, +30% YoY) ต่ำกว่า consensus 21% และต่ำกว่าประมาณการของเรา 11% เนื่องจากอัตราภาษีจ่ายจริงใน 4Q66 สูงเกินคาดที่ 28% ส่วนกำไรสุทธิเต็มปีอยู่ที่ 2.4 พันล้านบาท (+24%)

ธุรกิจเครื่องดื่ม – รายได้จากในประเทศหดตัวลง แต่รายได้ในต่างประเทศช่วยหนุนการเติบโต

รายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม (80% ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ (+3% QoQ และ -4% YoY) ใน 4Q66 แต่ลดลง 5% ในปี 2566 โดยรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศ (ประมาณ 2/3 ของรายได้รวมในธุรกิจเครื่องดื่ม) ยังคงลดลง (-7% QoQ และ -3% YoY) ใน 4Q66 และลดลง 9% ในปี 2566 ในขณะที่รายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มในต่างประเทศ (ส่วนใหญ่มาจากเมียนมาร์) ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง (+50% QoQ และ +32% YoY) ใน 4Q66 แต่ +>10% ในปี 2566

GPM ทรงตัว แต่ค่าใช้จ่ายพิเศษจากการปิดโรงงานทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น 

เนื่องจากราคาวัตถุดิบบางรายการลดลง GPM โดยรวมจึงค่อนข้างทรงตัว QoQ แต่เพิ่มขึ้น 5.5% YoY ใน 4Q66 และเพิ่มขึ้นเกือบ 4% ในปี 2566 อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายพิเศษจากการปิดโรงงานที่ไม่ได้ใช้งานทำให้ค่าใช้จ่าย SG&A เพิ่มขึ้น และฉุดให้อัตรากำไรจากการดำเนินงาน และอัตรากำไรสุทธิลดลงประมาณ 3% QoQ

คงคำแนะนำถือ ถึงแม่ว่าบริษัทจะปิดโรงงานเพื่อประหยัดต้นทุนคงที่ แต่เราคิดว่าคงไม่ได้ช่วยให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากต้นทุนค่าไฟฟ้า และน้ำตาลมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2567 นอกจากนี้ ฐานกำไรในปีที่แล้วยังสูงเพราะมีการจ่ายเงินปันผลพิเศษของ Unicharm 300 ล้านบาท แต่เมื่อบริษัทขาย Unicharm ออกไปแล้ว และไม่มีการจ่ายเงินปันผลพิเศษอีกในอนาคต หมายความว่าประมาณการกำไรปี 2567 และราคาเป้าหมายของเราน่าจะมี downside อีก ทั้งนี้ ราคาเป้าหมายปี 2567F ที่ 26.50 บาทของเราอิงจาก PE ที่ 29x

OSP