Talk of The Town

DITTO เข้าถือหุ้น NETBAY 24.90% คิดเป็นมูลค่าลงทุน 846 ลบ.


20 ธันวาคม 2566
DITTO เข้าถือหุ้น.jpg

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2566 ของบริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จ ากัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “DITTO”) ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 (“ทประชมคณะกรรมการ”) ได้มีมติอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) (“NETBAY”) ซึ่งประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับการคิดค้น สร้างสรรค์ และพัฒนา Digital Business Technology Platform ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Business Services) และนำเสนอผลิตภัณฑ์นั้นแก่ผู้ใช้ใน รูปแบบการให้บริการ (SaaS: Software as a Service) อย่างครบวงจรระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ (B2G) ระหว่าง ภาคธุรกิจและภาคธุรกิจ (B2B) และระหว่างภาคเอกชนและประชาชนหรือผู้บริโภค (B2C) 


โดยบริษัทฯ จะเข้าซื้อหุ้นสามัญของ NETBAY จากนายพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ (“นายพิชิตฯ”) ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ จำนวน 49,800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.90 ของทุนจดทะเบียนชำระ แล้วของ NETBAY ในราคาหุ้นละไม่เกิน 17.00 บาท รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 846,600,000 บาท  โดยบริษัทฯ จะ ทำการชำระค่าตอบแทนหุ้นสามัญของ NETBAY ด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของบริษัทฯ 

ทั้งนี้ ในการเข้าลงทุนโดยการเข้าซื้อหุ้นสามัญของ NETBAY บริษัทฯ จะเข้าดำเนินการภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ (1) ผลการเข้าตรวจสอบสถานะกิจการทางกฎหมาย การเงิน สินทรัพย์ และหนี้สิน ของ NETBAY เป็นที่พึงพอใจของ บริษัทฯ (2) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียน และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ นายพิชิตฯ ซึ่งเป็นบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) เพื่อชำระเป็นค่าตอบแทนที่บริษัทฯ เข้าซื้อหุ้นของ NETBAY จากนายพิชิตฯ 

บริษัทฯ เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของ NETBAY เนื่องจากบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจของบริษัทฯ โดยปัจจุบัน NETBAY ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับการคิดค้น สร้างสรรค์ และพัฒนา Digital Business Technology Platform ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Business Services) และนำเสนอ ผลิตภัณฑ์นั้นแก่ผู้ใช้ในรูปแบบการให้บริการ (SaaS: Software as a Service) อย่างครบวงจรระหว่างภาคธุรกิจและ ภาครัฐ (B2G) ระหว่างภาคธุรกิจและภาคธุรกิจ (B2B) และระหว่างภาคเอกชนและประชาชนหรือผู้บริโภค (B2C) ซึ่ง บริษัทฯ เล็งเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจระบบบริหารจัดการข้อมูลของบริษัทฯ ซึ่งจะสามารถสร้าง มูลค่าส่วนเพิ่ม (Synergy) ให้แก่ธุรกิจของบริษัทฯ ได้