จับประเด็นหุ้นเด่น

สัมภาษณ์พิเศษ : TPCH บุกตลาดคาร์บอนเครดิต สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน


11 เมษายน 2566
กระแสพลังงานหมุนเวียนยังได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งผลพลอยได้จาการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดทั้งคาร์บอนเครดิต และ REC  ซึ่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง (TPCH) “เชิดศักดิ์  วัฒนวิจิตรกุล” จะมีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร เราไปติดตามกัน 

สัมภาษณ์พิเศษ TPCH.jpg

ธุรกิจพลังงานทดแทนของบริษัท
เรื่องตัวธุรกิจพลังงานทดแทน TPCH  โครงสร้างปัจจุบันมีธุรกิจพลังงานทดแทนหลักๆ  2 ประเภท  โรงไฟฟ้าชีวมวล ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 120 MW  และโรงไฟฟ้าขยะชุมชน  มีกำลังการผลิต 10 MW รวมเป็น  130 MW 

ภาพรวม 300 MW จะมาจากไหน 
บริษัทกำลังศึกษาโปรเจคในต่างประเทศ  จะมีเรื่องของ Solar และพลังงานลม  โดยความชัดเจนจะไม่เกินไตรมาส 2 ปีนี้ เราจะมีการประกาศว่าไปลงทุนที่ไหน และมีลักษณะอย่างไร 

ปี 66 ปัจจัยที่ทำให้กำไรโตมาจากธุรกิจอะไร
ปีนี้เราตั้งเป้ามีกำไร 300-400  ล้านบาท  รายได้อยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท  โดยถ้ารับรู้โรงไฟฟ้าทั้งหมด 130 MW รายได้จะแตะ 3,000  ล้านบาท  และมี Net Profit Margin อยู่ที่ประมาณ 10-15% 

ปีนี้โรงไฟฟ้าของเราจะมีโรงไฟฟ้าประมาณ 25 MW  ซึ่งปัจจุบันยังขาดทุนอยู่  แต่ในปี 66 เรามีแผนจะจัดการกับโรงไฟฟ้าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งจะหยุดในเรื่องของการขาดทุนโรงไฟฟ้า  และจะทำให้กำไรของบริษัทกลับมาเป็นปกติ  นอกจากนี้ยังมีโปรเจคที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้อีกด้วย

โปรเจคที่จะเกิดขึ้นปีนี้เป็นอย่างไร
ในส่วนของแผนที่จะไปให้ถึง  300 MW  ในด้านของชีวมวล ในด้านของประเทศไทย หรือการประกาศเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนของภาครัฐ   ซึ่ง TPCH ไม่ได้เข้าประมูลในเรื่องของโซลาร์เลย   เพราะเราจะมีโครงการในต่างประเทศที่กำลังจะไป ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าที่ได้ในประเทศที่กำลังประมูลกันอยู่   

ส่วนในประเทศไทย เรามองเรื่องของโรงไฟฟ้าขยะชุมชน  ซึ่งเราลงทุนผ่านบริษัทย่อย สยาม เพาเวอร์ ที่ถือหุ้น 50% ปัจจุบันได้รับการโปรโมท อีก 1 โครงการแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนของการรอเซ็นสัญญา PPA  และเรามีแผนจะพัฒนาโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทยอีกอย่างน้อย 50 MW   

ดังนั้นภาพโดยรวมปีนี้เราจะเติบโต จาก ในประเทศผ่านโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ส่วนในต่างประเทศจะเติบโตจาก Solar farm 

โครงการที่ COD  แล้ว 
บริษัทมีเป้าหมายที่จะ COD  ทั้งหมดอีก 6  MW  แบ่งเป็น 3 MW กับ 3 MW   โดยเป็นโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ ที่มีลักษณะเป็นชีวมวล  ที่ TPCH เราไปถือหุ้นร่วมกับบริษัทลูกของการไฟฟ้า  โดยจุดหมายเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ให้มีรายได้  โดยอยู่ที่จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี

มองตลาดต่างประเทศอย่างไร
หลักๆมองไปที่ สปป.ลาว และกัมพูชา รวมถึงเวียดนาม ตอนนี้ศึกษาทั้ง 3 ประเทศ แต่จะขึ้นที่ประเทศไหนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนตอนนี้บอร์ดได้อนุมัติแล้ว ทำดิวดีลิเจนท์แล้ว ทั้งเรื่องไฟแนนซ์ เทคนิค และอัตราผลตอบแทน  ซึ่งการประชุมผู้ถือหุ้น เดือนเม.ย. นี้จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ

อีกจุดหนึ่ง  บริษัทมองว่าการลงทุนในต่างประเทศจะดีกว่าในประเทศไทย  โดยเฉพาะเรื่องคาร์บอนเครดิต  ซึ่งสอดคล้องกับที่ TPCH ได้รางวัล ESG ต่อเนื่อง 6 ปีติดต่อกัน ปัจจุบันโครงการที่ทำในประเทศไทยทั้งหมด ภาคเอกชนไม่ได้รับคาร์บอนเครดิต เป็นภาครัฐบาลที่จะได้ไป แต่ในต่างประเทศคาร์บอนเครดิตจะเป็นของเรา และในปีที่ผ่านมา TPCH ได้พัฒนาตัวคาร์บอนเครดิตที่ชื่อ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนหรือ REC ซึ่งเป็นคาร์บอนเครดิตที่มีการซื้อขายกันในกลุ่มของโรงไฟฟ้า  ปี65 บริษัทได้ขายคาร์บอนเครดิตให้กับบริษัทในญี่ปุ่น คือกลุ่มคันไซ ก็เป็นการเปิดตลาดของ REC   

ภาพโดยรวม TPCH 
จะมี REC ประมาณปีละ 450,000 หน่วย   ดังนั้นเรื่องของ Global trend   และเรื่องของโลกร้อนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก 

ความแตกต่างระหว่าง REC กับ คาร์บอนเครดิต
REC เป็นการซื้อขายคาร์บอนในกลุ่มของโรงไฟฟ้า ซึ่งราคาอยู่ที่ 1-2 ดอลลาร์ต่อตันไฟฟ้า  แต่ราคาก็ขึ้นกับคุณภาพด้วย โดยถ้าเป็นสิ่งที่ได้จากโรงไฟฟ้าโซลาร์ และลม ถือว่าเป็นอะไรที่สะอาดสุด ราคาของ REC ก็จะสูง  ถ้าเป็นไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อนราคาจะต่ำลง  เพราะการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนของตัดต้นไม้  

ตัวคาร์บอนเครดิตราคาซื้อขาย ถ้าตลาดที่เป็นภาคบังคับราคาอยู่ที่ประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อตัน   ทำให้ทิศทางตลาดต่างประเทศเป็นธุรกิจที่เราจะมุ่งไป เพราะตลาดมีมูลค่ามหาศาล  

การขายคาร์บอนและ REC 
เรื่อง REC เราเริ่มขายตั้งแต่ปีที่แล้ว  เรื่องคาร์บอนเครดิต  เราจดทะเบียนอยู่ โดยจดในต่างประเทศและในประเทศ  ทำให้เราไม่เข้าประมูลในประเทศ  

สัดส่วนรายได้ 
รายได้ต่างประเทศ ทั้งค่าไฟและคาร์บอน ภายใน 2 ปี คิดว่าสัดส่วนเกิน 50%  จากโครงการที่เราพัฒนา

ทิศทางคาร์บอนเครดิต
วันนี้ดีมาน์จะเพิ่มขึ้น  ดังนั้นภาคบังคับ คนที่ปล่อยจะต้องซื้อเพื่อชดเชย  ทำให้แนวโน้มยังปรับเพิ่มขึ้น   ซึ่งคาดว่าตลาดจะเริ่มบูมภายใน 2 ปี  และเป็นช่วงที่บริษัทมีสินค้ามากพอในการขาย 

พูดถึงบริษัทในเครือ 
เราแบ่งโครงสร้างเป็นในประเทศ  คือโรงไฟฟ้าขยะชีวมวล  เราบุกตลาดขยะชุมชน  โดยตั้งเป้า 50 mw   ส่วนในต่างประเทศ จะมีรายได้ทั้งค่าไฟ และคาร์บอนเครดิต  ซึ่งรูปแบบการลงทุนในต่างประเทศ  IRR  ที่เราคิดอีก 2 ปี TPCH  จะเป็น Holding Company ที่มีกระแสเงินสดมากขึ้น  โรงไฟฟ้าโซลาร์และโรงไฟฟ้าพลังงานลม  ผลตอบแทนจะได้เร็ว เพราะการก่อสร้างไม่ยุ่งยาก  และบริษัทเคยทำเรื่องของชีวมวลและขยะ  ทำให้สร้างโรงไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

แนวคิดการติดโซลาร์พร้อมแบตเตอรี่
ยังมีราคาแพง  ซึ่งจะคุ้มกับกลุ่มโรงงานมากกว่าบ้านพักอาศัย  เพราะตัวแบตเตอรี่ยังแพงเงินลงทุน 1 MW ชั่วโมง อยู่ที่ 10 ล้านบาท  ถ้าติดโซลาร์เงินลงทุน 19 ล้านบาทต่อ 1 MWใน 5 ชั่วโมง  หรือ 4 ล้านบาท อยู่ที่ 1MW ชั่วโมง  ถ้าราคาแบตเตอรี่ลดลงจะคุ้มมากกว่า 

เราเป็นหุ้นแบบไหนในสายตานักลงทุน
เราตั้งเป้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน  ที่เน้นติดตามภาวะโลกร้อนและมุ่งเน้นการพัฒนาตลาดคาร์บอน  ซึ่งเราเชื่อว่าในอนาคตอีก 2 ปี จะมีมูลค่ามหาศาล  เพราะเป็นตลาดที่ทั่วโลกให้การลงทุน ซึ่งอาจมีการซื้อขายเหมือนตลาดหุ้น  

ด้านผลตอบแทนให้กับนักลงทุน 
ปี 2566 ในการประชุมผู้ถือหุ้นจะมีการพูดถึงกลยุทธ์โรงไฟฟ้าที่ขาดทุนและการเติบโตในต่างประเทศ  ดังนั้นเรื่องของกำไร เชื่อว่าจะ Recover และกลับมามีกำไรมากกว่าปี  2563 ที่เคยทำไว้