Talk of The Town

เปิดข้อเสนอของไทย! ปูพรมสิทธิประโยชน์ทางการค้าสหรัฐฯ หวังหนีด่านภาษีโหด 36%


07 กรกฎาคม 2568

เหลือเวลาอีก 2 วัน ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในวันที่ 9 ก.ค. 68 ไทยยอมทุ่มสุดตัว เสนอชุดสิทธิประโยชน์ทางการค้าให้สหรัฐฯ ตั้งแต่เว้นภาษีสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม ยันนำเข้าเครื่องบิน Boeing และพลังงานเต็มสูบ หวังลดแรงกดดัน หลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่อาจพุ่งสูงถึง 36% หากเจรจาไม่สำเร็จ!

เปิดข้อเสนอของไทย!_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยว่า นับถอยหลัง 2 วัน ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในวันที่ 9 ก.ค. 68 ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากหลายประเทศ สำหรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ แบ่งสถานะออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. ประเทศที่ประกาศข้อตกลงแล้ว ได้แก่ อังกฤษ, เวียดนาม, จีน (ชั่วคราว)

2. ประเทศที่เจรจาอย่างจริงจัง (อาจได้รับการขยายเวลาไปถึง 1 ก.ย. 68) อาทิ ยุโรป, อินเดีย

3. ประเทศที่อาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษี (ประเทศขนาดเล็ก, เจรจาช้า) อาทิ อินโดนีเซีย, ไทย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, สวิตเซอร์แลนด์, มาเลเซีย, เกาหลีใต้

เมื่อพิจารณาผลกระทบต่ออัตราภาษีเฉลี่ยที่ “ไทย” ต้องเผชิญ หากไม่มีข้อตกลงหรือการขยายเวลาเกิดขึ้นภายในวันที่ 9 ก.ค. นี้ พบว่า หลักๆ จะมี SHOCK ที่เกิดขึ้นกับภาษีกลุ่มสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วน, เหล็กและอลูมิเนียม, บวกกับภาษีตอบโต้ส่วนเพิ่ม ซึ่งโดยรวมอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย อาจเพิ่มDOWNSIDE RISK ต่อ GDP  ได้

ทั้งนี้ ปธน.ทรัมป์ เผยว่าได้ลงนาม “จดหมายแจ้งอัตราภาษี” แล้ว 12 ประเทศ และเตรียมส่งในวันที่ 7 ก.ค. 68 แทนการทำข้อตกลง โดยอัตราภาษีอาจอยู่ระหว่าง 10% ถึง 70% ซึ่งสูงกว่าที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากไม่มีข้อตกลงใด ๆ และมีการขึ้นภาษีตามที่ขู่ไว้ เสี่ยงส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการนำเข้า, เงินเฟ้อ, และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก

ทั้งนี้รมว.คลังเผยไทยเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ยังไม่ได้ผลสรุป เตรียมทำข้อเสนอใหม่ก่อนถึงวันมีผลบังคับใช้ภาษีที่ 36% วันที่ 9 ก.ค.68 โดยการเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐฯ : สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม, พลังงาน, เครื่องบิน BOEING จากสหรัฐฯ เพื่อที่จะลดดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ จาก 46 พันล้านดอลลาร์ลง 70% ภายใน 5 ปี และตั้งเป้าให้ดุลการค้าไทย-สหรัฐฯเป็น 0 ภายใน 7-8 ปี (เร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งไว้ 10 ปี) ซึ่งเป็นประเด็นต้องติตตามต่ออย่างใกล้ชิดว่าสรุปแล้วภาษีที่สหรัฐฯจะเก็บไทยจะอยู่ในอัตราที่เท่าไหร่

ไทยเสนอสิทธิประโยชน์ทางการค้าแก่สหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี 36%

1.ข้อเสนอของไทย

เพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐฯ : สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม, พลังงาน, เครื่องบิน Boeing จากสหรัฐฯ ยกเว้นภาษีนำเข้าและอุปสรรคทางการค้าไม่ใช้ภาษีสำหรับสินค้าสหรัฐฯ ส่วนใหญ่นำเข้า ค่อยๆ ยกเลิกข้อจำกัดสำหรับสินค้าบางประเภทในระยะยาว

2.การปรับแผนเชิงรุกของไทย

เพิ่มการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐฯ โดยเฉพาะจากโครงการในอลาสก้า บริษัทไทย เช่น SCG Chemicals และ PTT Global Chemical จะนำเข้า ethane จากสหรัฐฯ  PTT อาจซื้อ LNG ปีละ 2 ล้านตัน เป็นเวลา 20 ปี Thai Airways อาจซื้อเครื่องบิน Boeing สูงสุดถึง 80 ลำ

3.เป้าหมายของไทย

ลดดุลการค้ากับสหรัฐฯ จาก 46 พันล้านดอลลาร์ลง 70% ภายใน 5 ปี ตั้งเป้าให้ดูดการค้าเป็นศูนย์ภายใน 7-8 ปี (เร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งไว้ 10 ปี)

4.ความเสี่ยงหากไม่บรรลุข้อตกลง 

อาจทำให้การส่งออกลดลงอย่างมาก กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยถึง 1% ไทยอาจได้รับข้อตกลงที่เสียเปรียบกว่ากลุ่มประเทศที่เจรจาได้สำเร็จ

ประเด็นดังกล่าว ส่งผลน่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP GROWTH ไทยในปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่ง ธปท.ประเมินอัตราภาษีระดับต่างๆ จะส่งผลต่อ GDP GROWTH เท่าไหร่บ้าง 

1.TARIFF สูงกว่า 36% ส่งผลต่อ GDP อาจต่ำกว่า 1.3%

2.TARIFF เท่ากับ 36% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 1.3% 

3.TARIFF 18%-36% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 2.0% 

4.TARIFF เท่ากับ 18% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 2.3% 

5.TARIFF ต่ำกว่า 18% ส่งผลต่อ GDP เหลือสูงกว่า 2.3%