รายงานพิเศษ : DPAINT พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ปรับกลยุทธ์ เน้นขายสินค้ากำไรสูง วางแผนจัดการลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2568 ยังเติบโตได้ดี มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการอสังหาฯ ของภาครัฐ ประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นโอกาสทองของผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยมี 3 ปัจจัยบวกที่น่าสนใจ ได้แก่
มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ แรงขับเคลื่อนสำคัญของตลาด ภาคอสังหาฯยังคงเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อให้คนหาบ้านเป็นเจ้าของที่อาศัยได้ง่ายขึ้นจาก
มาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือ 01% (จากปกติ 2%) และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน เหลือ 0.01% (จากปกติ 1%) สำหรับราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท มีผลใช้บังคับไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) เป็นการชั่วคราว
และ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ 75% ต่อปี (ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน 2568) ถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามไปด้วย และช่วยลดภาระการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละงวด ทำให้ผู้ซื้อมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นและสามารถนำเงินส่วนต่างไปใช้จ่ายอื่น ๆ ได้
ยอดขายบ้านที่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดบ้านมือ 1 และมือ 2 ส่งผลดีต่อตลาดสีทาบ้าน ซึ่งปี68 คาดมีมูลค่าประมาณ 27,600 ล้านบาท เติบโตขึ้น 2.2% จากปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากการก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่เชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน เช่น พื้นที่ค้าปลีก อาคารสำนักงาน และโรงแรม
ด้าน บมจ.สีเดลต้า (DPAINT) หนึ่งในผู้นำตลาดสีทาบ้าน ได้ประกาศปรับกลยุทธ์การขาย เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต โดยเน้นการขายสีทาอาคารที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงมากขึ้น และลดสัดส่วนการขาย สินค้า Sourcing ที่มีกำไรขั้นต้นต่ำ ประกอบกับ บริษัทมีการปรับกลยุทธ์ที่จะมุ่งเน้นลูกค้าที่มีศักยภาพ และ มีวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างทีมขาย เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ในส่วนของสัดส่วนรายได้ตามผลิตภัณฑ์ในงวด 3 เดือนของปี 2568 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายและบริการสุทธิมาจากสินค้าคุณภาพพิเศษ สินค้าคุณภาพสูง และสินค้าคุณภาพคุ้มค่าในสัดส่วนร้อยละ 43.5 ร้อยละ 14.7 และร้อยละ 41.8 ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนรายได้ตามผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลมาจากการปรับกลยุทธ์การขายใหม่
ขณะเดียวกัน บริษัทยังปรับปรุงในเรื่องค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยผลงานในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 93.5 ล้านบาท และ 66.3 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีค่าใช้จ่ายลดลง (27.2) ล้านบาท ลดลงร้อยละ (29.1) โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับโครงสร้างองค์กรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ทำให้ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากรลดลง (17.9) ล้านบาท