Talk of The Town

เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ5 เดือน ดูชัดๆหุ้นรับผลกระทบบวก-ลบ


25 มีนาคม 2567
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ5 เดือน copy_0.jpg

มีรายงานเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ5 เดือน โดย ณ 22 มี.ค. .24 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36.34 THB/USD อ่อนค่า 5.9% เมื่อเทียบกับต้นปี 2024 นับเป็นการอ่อนค่ามากสุดในรอบ 5 เดือน สอดคล้องกับภาพรวมการเคลื่อนไหวของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และมีสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ที่ปรับลดดอกเบี้ยเหนือการคาดการณ์ของตลาด และธนาคารกลางอังกฤษที่ส่งสัญญาณว่า อาจมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และจังหวะการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลกในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน Source: Infoquest) 


DAOL ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาทตลาดมีการคาดการณ์ยังมีทิศทางอ่อนค่าในช่วง 36.00 36.90 THB/USD โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตา ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ข้อมูลเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานเดือนก.พ.ของสหรัฐฯ ตัวเลขส่งออกและดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ.ของไทย รวมถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนจีน และราคาทองคำสำหรับหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าและมีโอกาส outperform SET มากสุด ได้แก่ ITC, TU

+ ) ITC (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้ส่งออกสูงถึง 99% และต้นทุนส่วนใหญ่เป็นเงินบาท ขณะที่กำไรปกติปี 2024 2024E ฟื้นตัวสูง +31% YoY กลับมาโตในรอบ 2 ปี จากสถานการณ์ inventory คลี่คลายขึ้น และการขยายผลิตภัณฑ์และลูกค้าใหม่

( + ) TU (ซื้อ/เป้า 20.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้ส่งออกสูงถึง 90% และต้นทุน 60 70% เป็นเงินบาท ขณะที่กำไรปกติปี 2024 2024E จะฟื้นตัวสูง +24% YoY จากการหยุดรับรู้ผลการดำเนินงาน Red Lobster และธุรกิจ Ambient และPetCare ดีขึ้น

สำหรับส่วนหุ้น/อุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะได้รับผลบวกจาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า”
1) กลุ่มเกษตรและอาหาร เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น ITC +10%10%, AAI +10%10%, TU +7%7%, SUN +3%3%,PLUS +2%
2) กลุ่มอิเลกทรอนิกส์ เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้กำไรเพิ่มขึ้น KCE +6% และ HANA +5%
3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้อานิสงส์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า ที่ทำให้คนต่างชาติสนใจมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ายุโรปและสหรัฐ สำหรับหุ้นที่จะได้ประโยชน์เรียงตามลำดับ ได้แก่ ERW (สัดส่วนรายได้ในไทย 88%) 88%), CENTEL (สัดส่วนรายได้ในไทย 80%) และ AOT จะได้ประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
4) อุตสาหกรรมอื่น ที่ได้ผลกระทบเชิงบวกจากค่าเงินบาทอ่อน เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ได้แก่ MEGA ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +5%EPG ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +3% 4% TOG ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +3% 4%

 สำหรับหุ้น/อุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะเสียประโยชน์จาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า”
1) กลุ่มสายการบิน AAV, BA มีโครงสร้างต้นทุนเป็นเงินสกุลดอลลาร์ราว60% ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น , สำหรับ AAV มีหนี้เป็น USD ราว 1 พันล้านเหรียญ ทำให้จะมี unrealized FX loss ราว 1 พันล้านบาท จากทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า
2) กลุ่มพลังงาน มี negative net exposure ต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินบาท ส่งผลให้อาจจะมีการบันทึก unrealized fx loss สำหรับ PTTGC TOP ขณะที่ผลกระทบต่อ PTTEP และ SPRC น่าจะมีจำกัดเพราะมีการใช้ USD เป็น functional currency ส่วน IVL มี natural hedge 
3) กลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากมีเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้มีการบันทึกunrealized fx loss เข้ามา อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวเป็นเพียงรายการทางบัญชีและไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด ทั้งนี้หุ้นที่มี impact จากประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย GULF, BGRIM, GPSC, RATCH, GUNKUL 
4) กลุ่ม IT Distributor SYNEX, SIS เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าโดยใช้เงิน