Talk of The Town

NUSA ชี้แจงเรื่อง WEH ตามที่ ตลท.สอบถาม


26 มกราคม 2567
NUSA ชี้แจงเรื่อง WEH copy_0.jpg

ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีคดี หมายเลขแดงที่ อ 1753/ 2566 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ฝ่ายบริหารของ บมจ.ณุศาศิริ ขอชี้แจงข้อมูล ในประเด็นที่ตลาดหลักทรัพย์สอบถาม ดังนี้


 ข้อ 1  เหตุผลที่ NUSA ยื่นฟ้องต่อศาลฯ เพื่อขอเพิกถอน share swap ดังกล่าว ซึ่งขัดกับข้อมูลที่ NUSA เคย แจ้งผ่านระบบเผยแพร่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 ว่าไม่พบว่าหุ้นของ WEH ที่จะนำมา share swap มีประเด็นที่จะกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในหุ้น WEH  

การที่บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลฯ เนื่องจากบริษัท เค พีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด มี การลงประกาศในหนังสือพิมพ์และสื่อรูปแบบอื่นๆ โดยอ้างอิงคำพิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ เลขที่คดีแดง อ 1753/ 2566 ซึ่งมีคำ พิพากษาวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยในคำพิพากษาหน้าที่ 123 ย่อหน้าที่ 2 ระบุไว้ว่า “สัญญาซื้อขายหุ้นบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่โฮลดิ้ง จำกัด ลงวันที่ 25 เมษายน 2559 ....เป็นเอกสารปลอมอันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดทำไว้เป็นความผิด จึงต้องริบเสียทั้งสิ้น” ทำให้หุ้นจำนวน 64,717,411 หุ้นของบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่โฮลดิ้ง จำกัด (คิดเป็นร้อยละ 60) เป็นกรรมสิทธิของบริษัท เค พีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศ ไทย) จำกัด โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นของบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่โฮลดิ้ง จำกัด มีคดีความฟ้องร้องระหว่าง กันจำนวนมาก ทางบริษัทฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ ขณะจัดทำรายงานในขณะนั้น ซึ่งไม่ได้รวมผลของคดีศาลอาญากรุงเทพ ใต้ เลขที่คดีแดง อ 1753/ 2566 เนื่องจากทางผู้ขายให้คำรับรองว่าคดีดังกล่าวโอกาสการแพ้คดีมีน้อยมาก เนื่องจากโจทก์ คือ พนักงาน อัยการ และโจทก์ร่วมคือ นายเกษม ณรงค์เดช ทั้งนี้การที่กรรมสิทธิของบริษัท เค พีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด ในบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่โฮลดิ้ง จำกัด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ต้น ทำให้มีปัญหาในตัวกรรมสิทธิการถือครองหุ้นของ บริษัทโกลเด้น มิวสิค ลิ มิเต็ด และบริษัทธนาพาวเวอร์วัน จำกัด ในฐานะผู้รับโอนหุ้นบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่โฮลดิ้ง จำกัด จากนายเกษม ณรงค์เดช บริษัทฯ จึง มีความจำเป็นต้องอาศัยอำนาจของศาลยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท 

ข้อ 2 สิทธิในการออกเสียงรวมทั้งสิทธิต่างๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นของผู้ถือหุ้น NUSA ที่ได้รับหุ้นจากการแลกเปลี่ยน (share swap) กับหุ้น WEH ที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ ในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาตามคำขอของ NUSA รวมทั้งสิทธิใน การเป็นกรรมการของ NUSA  

ในคดีที่อ้างถึงข้างต้น คำขอท้ายคำฟ้อง คือ “ห้ามจำเลยใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์เข้าร่วมประชุมหรือจัดการ ประชุมบริษัทโจทก์” ดังนั้นหากปรากฏศาลมีคำพิพากษาชั้นต้น เพิกถอนการซื้อขายหุ้นโดยการแลกเปลี่ยนหุ้น ระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัทธนาพาวเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด การใช้สิทธิต่างๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นของผู้ถือหุ้น NUSA ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยปราศจากสิทธิตั้งแต่ต้น หากบริษัท หรือผู้ถือหุ้นรายอื่นใดของบริษัทได้รับความเสียหายจากการการใช้สิทธิต่างๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทธนาพาวเวอร์โฮ ลดิ้ง จำกัด ย่อมสามารถเรียกร้องต่อบริษัทธนาพาวเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด หรือผู้เกี่ยวข้องที่กระทำการโดยประมาท เลิ่นเล่อ ชดใช้ตามสิทธิ ภายใต้กระบวนการยุติธรรมได้    

ข้อ 3 อำนาจอนุมัติเพื่อดำเนินการยื่นฟ้องร้องข้างต้นต่อศาลฯ  

ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วน เพราะบริษัท เค พีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 9.00 น. ณ ห้อง Lotus Ballroom โรมแรมเมอเวนพิค โดยที่ปรึกษากฏหมายของบริษัทได้เข้าสังเกตการณ์และมีข้อเสนอให้รีบดำเนินการใช้สิทธิตามกระบวน การยุติธรรมเพื่อเป็นการรักษาสิทธิผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท 

ข้อ 4 ผลกระทบต่องบการเงินของ NUSA ทั้งด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน หากศาลฯ มีคำพิพากษาตามคำ ขอของ NUSA พร้อมชี้แจงเพิ่มเติมให้ชัดเจน ถึงเหตุผลที่ NUSA ไม่ต้องคืนเงินปันผลที่เคยได้รับจากการถือหุ้น WEH  

ข้อ 4.1  ผลกระทบเมื่อมีคำพิพากษาของศาลตามคำขอ บริษัท ธนาพาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งได้รับหุ้นของบริษัทฯ จาก ธุรกรรมข้างต้น จำนวน 1,678,495,050 หุ้น ย่อมไม่มีสถานะการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตั้งแต่ต้น เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิในหุ้นของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ดังนั้นบริษัทจะต้องปรับปรุงรายงานทางการเงิน คือ นำเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ออกจากรายงานการเงินส่วนของสินทรัพย์ และ ลดจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่าย จำนวน 1,678,495,050 หุ้น ในมูลค่าเท่ากัน  

ข้อ 4.2  บริษัทฯ ได้รับเงินปันผลจากการลงทุนในหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด นับตั้งแต่ที่ได้เข้าลงทุนรวม 247.95 ล้านบาท ขณะที่เงินลงทุนในหุ้นบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัดคิดเป็นจำนวนเงิน 3,545.78 ล้านบาท คิดเป็น ผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 3.48 ต่อปี ขณะที่ต้นทุนถัวเฉลี่ยของบริษัท (WACC) อยู่ที่ประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9.70 ต่อปี ดังนั้นแม้รายรับเงินปันผลจะเข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ปพพ.มาตรา 406 แต่การคืนทรัพย์สินที่ได้มาด้วยความสุจริตใจ จะต้องไม่ เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับและยังคงเหลืออยู่ ตาม ปพพ.มาตรา 406 ซึ่งการได้มาซึ่งหุ้นบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทมี ต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ และตาม ปพพ. มาตรา 415 รับรองสิทธิดอกผลจากทรัพย์ที่เป็นเหตุของลาภมิควรได้ของผู้ที่ได้รับทรัพย์นั้น มาโดยสุจริตด้วย