จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : TIDLOR ปรับกลยุทธ์เน้นเทคโนโลยี สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน


01 มิถุนายน 2566
ผู้บริหาร บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) ประกาศปรับกลยุทธ์  เน้นการใช้เทคโนโลยี  กระตุ้นการเติบโตอย่างยั่งยืน คุมเข้มคุณภาพหนี้กดหนี้ NPL เหลือ 1.8%  ขณะที่โบรกเกอร์ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ”  เพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 33 บาท  จากเดิม 25 บาท 

รายงานพิเศษ TIDLOR ปรับกลยุทธ์เน้นเทคโนโลยี ส.jpg

นายปิยะศักดิ์  อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับประมาณการตัวเลขอัตราหนี้เสีย (NPL ratio) ในปีนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1.8% จากเป้าหมายเดิมที่ต่ำกว่า 2% ซึ่งเป็นผลมาจากการมุ่งเน้นดำเนินนโยบายพิจารณาสินเชื่ออย่างรอบคอบ ส่งผลให้อัตราหนี้เสีย (NPL) ในไตรมาส 1/66 ลดลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ 1.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง 
          
ขณะเดียวกันได้ปรับลดต้นทุนความเสี่ยงด้านเครดิต  (Credit cost) ในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.00-3.35% จากเป้าหมายเดิมที่ 3.00-3.50%  โดยการปรับเป้าในครั้งนี้เป็นการปรับเพื่อสะท้อนความสามารถในการควบคุมคุณภาพหนี้ในปัจจุบัน และยังคงการตั้งสำรองในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม
          
ขณะที่บริษัทยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้อยู่ที่ระดับ 10-20% หลังจากที่ไตรมาส 1/66 เติบโตแล้ว 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังคงตั้งเป้าหมายการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง  สำหรับเบี้ยประกันวินาศภัยที่ระดับ 20-25%  ขณะที่ไตรมาส 1/66 เติบโต 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการพัฒนาประสิทธิภาพและการลงทุนในเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพิงการเปิดสาขาเพียงอย่างเดียว 

ขณะที่ บล.ดาโอ วิเคราะห์หุ้นบริษัท TIDLOR  โดยระบุว่า  คุณภาพสินเชื่อปี2023E ดีขึ้นเรามองเป็นบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์ จากการปรับเป้าค่าใช้จ่ายสำรอง และ NPL ลง โดยมีประเด็นสำคัญ คือ
1) ปรับเป้า NPL ลดลงเป็นไม่เกิน 1.8% (เดิม <2.0%) และ credit cost เป็น 3.0-3.35% (เดิม 3.0-3.5%) ทั้งนี้ประเมินว่าในระยะยาว credit cost จะลดลงสู่ระดับปกติที่ 2.5-3.0%
2) ขณะที่บริษัทยังคงเป้าสินเชื่อที่เติบโต +10-20% YoY และ non-life insurance premium +20-25% YoY โดยสินเชื่อ 2Q23E เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น จาก 1Q23 ที่ขยายตัวเพียง +2% YTD
3) ประเมิน cost of fund ที่เพิ่มขึ้นใน 1Q23 จะยังต่อเนื่องใน 2Q23E เนื่องจากเป็นการออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่หมดอายุในเดือน เม.ย. 23 ทั้งนี้บริษัทประเมินว่า cost of fund ปี 2023E จะเพิ่มขึ้น +50 bps และมีแนวโน้มที่จะออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นใน 2H23E เพื่อรองรับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
4) ประเมิน cost to income 1Q23 ที่ 54% ต่ำไป คาดส่วนที่เหลือของปีจะทยอยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ Mid-50% จากค่าใช้จ่ายโฆษณา และการขยายสาขาที่มากขึ้นใน 2H23E จาก 1Q23 ที่ทรงตัว

บริษัทปรับกำไรปี 2023E-2024E ขึ้น  เพื่อสะท้อนความเสี่ยงที่ีเริ่มคลี่คลาย เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2023E-2024E ขึ้ นปีละ +13%/+17% เป็น 3.8 พันล้านบาท (+5% YoY) และ 4.7 พันล้านบาท (+22% YoY) โดยเป็นผลจากการปรับ

1) เพิ่ม loan growth เป็น +19%/+17% (เดิมปีละ +14% YoY), 
2) ปรับลด credit cost ลงปีละ -10 bps ตาม NPL ที่ดีขึ้นเป็น 1.8%/1.7% (เดิม 1.9%/1.8%) 
3) ลด cost to income ลงเป็น 56%/55% (เดิม 58%) เพื่อสะท้อนความเสี่ยงที่คลี่คลายมากขึ้น ทั้งเศรษฐกิจที่จะเติบโตดีโดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว คุณภาพสินเชื่อที่จะไหลลงมาเป็น NPL ที่น้อยกว่าคาด ท าให้บริษัทจะรับรู้ค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายหนี้สูญที่ลดลง และสามารถกลับมาเร่งปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น 

ด้านผลการดำเนินงาน 2Q23E จะทรงตัว YoY/QoQ จาก NPL และค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มขึ้น จากจำนวนวันในการติดตามหนี้ที่น้อยลง รวมทั้งการเข้าสู่ฤดูฝนที่จะกระทบต่อยอดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกที่จะลดลง

ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 33.00 บาท อิง 2023E PBV ที่ 3.0x (-0.5 SD below average PBV) จากเดิม 25.00 บาท อิง 2023E PBV ที่ 2.4x โดยเป็นผลจากการปรับกำไรสุทธิ และ re-rate PBV ขึ้นเพื่อ สะท้อนความเสี่ยงที่ลดลง จากลูกหนี้ที่จะไหลลงมาเป็น NPL น้อยลงตามเศรษฐกิจที่กลับมาดีขึ้น 

ทั้งนี้เราประเมินว่าบริษัทจะยังมี catalyst จากสินเชื่อที่จะกลับมาขยายตัวมากกว่าคาด, สัดส่วนการใช้งาน และผู้ใช้งาน TIDLOR Card ที่เพิ่มขึ้น หนุนให้รายได้ดอกเบี้ย และสินเชื่อบริษัทจะเติบโตดีต่อเนื่อง