Wealth Sharing

BRC ยื่นไฟลิ่งกับก.ล.ต.แล้ว ขายไอพีโอ 3,729,999,999 หุ้น


18 เมษายน 2566
ตามที่บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC  ได้เปิดเผยสารสนเทศเกี่ยวกับแผนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering (“IPO”)และการนำหุ้นสามัญของบริษัท บิ๊กซีรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“BRC”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) (“แผน IPO”) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 แล้วนั้น
BRC ยื่นไฟลิ่งกับก.ล.ต.แล้ว.jpg
บริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566 BRC ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(“สำนักงาน ก.ล.ต.”) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลในรายละเอียดจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนของ BRC ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. (www.sec.or.th

อนึ่ง การออกและเสนอขายหุ้น IPO ดังกล่าว จะกระทำได้ต่อเมื่อ BRC ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ให้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเพื่อการเสนอขายหุ้น IPO มีผลใช้บังคับแล้ว และตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติคำขอให้รับหุ้นสามัญของ BRC เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากมีความคืบหน้าประการใด บริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป 

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัท บิ๊กซีรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“BRC”) เป็นบริษัทเรือธง (Flagship Company) สำหรับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ และธุรกิจค้าส่งและสนับสนุนการค้าปลีกแบบดั้งเดิมของ BRC และบริษัทย่อยของ BRC และกลุ่มบริษัทไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น จำกัด ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีพอร์ตโฟลิโออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นร้านค้าหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้แบรนด์บิ๊กซี ร้านค้าปลีกและผู้เช่าพื้นที่ในร้านค้าต่าง ๆ ของ BRC โดยนอกจากเป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจสนับสนุนอื่น ๆ ของ BRC แล้ว รูปแบบร้านค้าดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนธุรกิจการขายส่งให้กับลูกค้าผ่านการดำเนินธุรกิจแบบ B2B และธุรกิจสนับสนุนการค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ของ BRC อีกด้วย 

ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจค้าส่งของ BRC ยังครอบคลุมไปถึง การสั่งผลิต การนำเข้าและการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาและการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ อันมีส่วนเกี่ยวข้องเกื้อหนุนกับการค้าปลีก และ/หรือการค้าส่งของกลุ่ม BRC ด้วยโดย BRC นำเสนอรูปแบบการค้าปลีก การค้าส่ง และการสนับสนุนการค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่ครอบคลุม และนำเสนอสินค้าที่คุ้มค่าและหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความชื่นชอบที่แตกต่างกันของกลุ่มลูกค้าและผู้เช่าพื้นที่ และด้วยความสัมพันธ์อันยาวนาน เครือข่าย และความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งของ BRC ในอุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งที่มีการแข่งขันสูง BRC สามารถมอบประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ทั้งทางช่องทางออนไลน์ผ่าน Omnichannel Platformและช่องทางออฟไลน์โดยอาศัยพื้นที่ร้านค้า (Retail Venue) ของ BRC และเครือข่ายกลุ่มธุรกิจรวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมซึ่ง BRC ให้การสนับสนุน นอกจากนี้ BRC ยังมีระบบโปรแกรมสิทธิพิเศษบิ๊กพอยต์ที่ BRC เป็นเจ้าของ ซึ่งมีสมาชิกในระบบโปรแกรมสิทธิพิเศษบิ๊กพอยต์กว่า 18 ล้านราย โดย BRC ได้มีการคิดค้นและริเริ่มระบบโปรแกรมสิทธิพิเศษดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 2552

ภายใต้แผน IPO BRC คาดว่าจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 3,729,999,999 หุ้น (รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) อาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจาก BRC (ถ้ามี)) โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้เท่ากับหุ้นละ 10 บาท โดยหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว (“หุ้น IPO”) คิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 29.98ของทุนชำระแล้วของ BRC ภายหลังการเพิ่มทุนและการออกและเสนอขายหุ้น IPO เพื่อเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนประเภทบุคคลและ/หรือนิติบุคคลอื่น ๆ และ/หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทเฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น (Pre-emptive rights) (ถ้ามี) บุคคลผู้มีความสัมพันธ์ของ BRC และ/หรือ บริษัทย่อย ผู้มีอุปการคุณของ BRC และ/หรือ บริษัทย่อย รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายต่อผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) (ถ้ามี) ตามที่สามารถกระท าได้ตามกฎหมายและที่คณะกรรมการ BRC หรือคณะกรรมการบริหารของ BRC หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ BRC หรือคณะกรรมการบริหารของ BRC เห็นสมควร โดยภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นผู้มีอำนาจควบคุมของ BRC และ BRC จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัท

ในเบื้องต้น BRC มีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจาก IPO เพื่อ 1. เพื่อใช้ลงทุนในการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อช าระคืนเงินกู้ยืม และ 3. เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ
BRC