จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : PIS จับกระแสภัยไซเบอร์พุ่ง พัฒนาโซลูชั่น Cybersecurity ช่วยหนุนรายได้ปีนี้โตแกร่ง
18 กรกฎาคม 2568
แคสเปอร์สกี้ ระบุเหตุการณ์ร้ายไซเบอร์ในประเทศไทยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีสถิติที่น่าจับตามอง โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 พบเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์จำนวน 64,609 ครั้ง ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเป็น 196,078 ครั้ง และ 223,700 ครั้งในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ

ข้อมูลสำคัญจากรายงานแคสเปอร์สกี้อีกประการหนึ่ง ชี้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ตรวจพบจำนวนที่เพิ่มขึ้น แต่อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์กลับมีจำนวนลดลง ทั้งนี้สิงคโปร์ยังคงมีจำนวนเหตุการณ์อันตรายสูงสุดในภูมิภาคในไตรมาสที่ 2 นี้ที่ 4,995,653 ครั้ง
ซึ่งรายงานดังกล่าวของแคสเปอร์สกี้นี้สอดคล้องกับสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ที่ระบุภัยคุกคามหลักที่ตรวจพบในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 คือความพยายามบุกรุก (41%) และความปลอดภัยของเนื้อหา (20%) ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รายงานยังแสดงให้เห็นว่าภาคการศึกษา (26%) ภาครัฐ (20%) และภาคการเงิน (17%) เป็นองค์กรเป้าหมายการโจมตีหลักของประเทศไทย
เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "ภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งพื้นที่ดิจิทัลที่กว้างขึ้น การนำดิจิทัลมาใช้รวดเร็วขึ้น และจำนวนผู้ก่อภัยคุกคามที่มีความช่ำชองที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของไทยได้รับแรงกระตุ้นจากโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น ประเทศไทย 4.0 การนำคลาวด์มาใช้ และโมบายแบงก์กิ้ง ทำให้จำนวนบริการออนไลน์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดิจิทัลฟุตปริ้นต์ที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาชญากรไซเบอร์มีช่องทางเพื่อโจมตีได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระบบนั้นไม่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม"
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนธุรกิจบมจ.โปร อินไซด์ (PIS) ที่ให้บริการวางกลยุทธ์พัฒนาโซลูชั่น AI Generative, ระบบ Cloud-native และ Cybersecurity ซึ่ง “เบญญาภา เฉลิมวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PIS ระบุ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ มีการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ พร้อมพัฒนาโซลูชันที่สอดคล้องความต้องการของลูกค้าและสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น การประยุกต์ใช้ AI Generative, ระบบ Cloud-native, Cybersecurity และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) รวมถึงพัฒนาบุคลากรในทักษะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมือกับพันธมิตรเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกในการกระจายความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับแนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 2/68 ยังคงมีทิศทางที่ดีต่อเนื่องจากไตรมาส 1/68 โดยปัจจัยหนุนจากการทยอยรับรู้รายได้จากโครงการของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยบริษัทฯมีงานในมือที่ชนะการประมูลและรอรับรู้รายได้ในอนาคตกว่า 5,350 ล้านบาท ผลักดันผลการดำเนินงานในช่วง 1-3 ปีข้างหน้าเติบโตต่อเนื่อง
"มั่นใจว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/68 และช่วงที่เหลือของปีนี้ จะเติบโตได้ดีจากงานในมือที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและยื่นประมูลงานในหลายโครงการ และมีโอกาสที่จะได้รับงาน ผลักดันรายได้รวมในปีนี้แตะที่ระดับ 3,000 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ ตามเป้าหมายที่วางไว้" นางสาวเบญญาภา กล่าว

ข้อมูลสำคัญจากรายงานแคสเปอร์สกี้อีกประการหนึ่ง ชี้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ตรวจพบจำนวนที่เพิ่มขึ้น แต่อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์กลับมีจำนวนลดลง ทั้งนี้สิงคโปร์ยังคงมีจำนวนเหตุการณ์อันตรายสูงสุดในภูมิภาคในไตรมาสที่ 2 นี้ที่ 4,995,653 ครั้ง
ซึ่งรายงานดังกล่าวของแคสเปอร์สกี้นี้สอดคล้องกับสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ที่ระบุภัยคุกคามหลักที่ตรวจพบในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 คือความพยายามบุกรุก (41%) และความปลอดภัยของเนื้อหา (20%) ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รายงานยังแสดงให้เห็นว่าภาคการศึกษา (26%) ภาครัฐ (20%) และภาคการเงิน (17%) เป็นองค์กรเป้าหมายการโจมตีหลักของประเทศไทย
เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "ภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งพื้นที่ดิจิทัลที่กว้างขึ้น การนำดิจิทัลมาใช้รวดเร็วขึ้น และจำนวนผู้ก่อภัยคุกคามที่มีความช่ำชองที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของไทยได้รับแรงกระตุ้นจากโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น ประเทศไทย 4.0 การนำคลาวด์มาใช้ และโมบายแบงก์กิ้ง ทำให้จำนวนบริการออนไลน์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดิจิทัลฟุตปริ้นต์ที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาชญากรไซเบอร์มีช่องทางเพื่อโจมตีได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระบบนั้นไม่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม"
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนธุรกิจบมจ.โปร อินไซด์ (PIS) ที่ให้บริการวางกลยุทธ์พัฒนาโซลูชั่น AI Generative, ระบบ Cloud-native และ Cybersecurity ซึ่ง “เบญญาภา เฉลิมวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PIS ระบุ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ มีการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ พร้อมพัฒนาโซลูชันที่สอดคล้องความต้องการของลูกค้าและสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น การประยุกต์ใช้ AI Generative, ระบบ Cloud-native, Cybersecurity และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) รวมถึงพัฒนาบุคลากรในทักษะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมือกับพันธมิตรเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกในการกระจายความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับแนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 2/68 ยังคงมีทิศทางที่ดีต่อเนื่องจากไตรมาส 1/68 โดยปัจจัยหนุนจากการทยอยรับรู้รายได้จากโครงการของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยบริษัทฯมีงานในมือที่ชนะการประมูลและรอรับรู้รายได้ในอนาคตกว่า 5,350 ล้านบาท ผลักดันผลการดำเนินงานในช่วง 1-3 ปีข้างหน้าเติบโตต่อเนื่อง
"มั่นใจว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/68 และช่วงที่เหลือของปีนี้ จะเติบโตได้ดีจากงานในมือที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและยื่นประมูลงานในหลายโครงการ และมีโอกาสที่จะได้รับงาน ผลักดันรายได้รวมในปีนี้แตะที่ระดับ 3,000 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ ตามเป้าหมายที่วางไว้" นางสาวเบญญาภา กล่าว