Gossip Station by..เจ๊จิ๋ม 03-07-25 (TFMAMA-คมสันต์ แซ่ลี-โก้ อนันดาฯ ลงทุน ชาชื่อดัง“CHAGEE” )
Gossip Station by..เจ๊จิ๋ม 03-07-25 (TFMAMA-คมสันต์ แซ่ลี-โก้ อนันดาฯ ลงทุน ชาชื่อดัง“CHAGEE” )
03-07-25 สวัสดี “ปีงูไฟ" ค่ะพี่น้องชาวไทยที่รัก "เจ๊จิ๋ม" มารายงานตัว ณ ที่เก่าเวลาเดิม www.share2trade.com เปิดอ่านได้เลยมีเรื่องเด็ดๆ โดนๆ มาเม้าท์กันให้สนั่นวงการลงทุนของพวกเรากันเถอะ
***TFMAMA หรือ บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ เพิ่งแจ้งเรื่องก่อตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่นามว่า “ไทยเพรซิเดนท์เบเวอร์เรจ” เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา ไฮไลท์อยู่ที่ผู้ถือหุ้น 3 ราย
รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น สัดส่วน %
1) บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ 797,500 55%
2) นายคมสันต์ แซ่ลี 362,500 25%
3) นายชานนท์ เรืองกฤตยา 290,000 20%
รวม 1,450,000 100%
***บริษัทฯนี้แจ้งว่าทำธุรกิจประเภท “การลงทุนในธุรกิจ” มีทุนจดทะเบียน 145 ลบ. (มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) มูลค่าการลงทุนร้อยละ 55 ของทุนจดทะเบียน หรือจำนวน 79.75 ลบ.
***เมื่อวานมีความเคลื่อนไหวน่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่งสำหรับเจ๊..นั่นคือ “ไทยเพรซิเดนท์เบเวอร์เรจ” ประกาศเข้าลงทุนใน “ชาจี (ไทยแลนด์)” รวม 1,424,175 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 51% เป็นเงิน 142,417,500 บาท
โดยมีรายละเอียดการลงทุนคือ
1) ซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิม 25,500 หุ้น ราคาซื้อหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,550,000บาท
2) จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ได้รับจัดสรรตามสิทธิ จำนวน 1,398,675 หุ้น มูลค่าหุ้นเพิ่มทุนหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 139,867,500 บาท
***เหตุที่บอกว่าตื่นตา ตื่นใจ เพราะว่า บริษัท ชาจี (ไทยแลนด์) จำกัด คือผู้ดำเนินธุรกิจร้านชาชื่อดัง “CHAGEE” ในประเทศไทย ...บอกเลย!!! ชื่อเสียงของเค้าดังมากกกกกกกกก โดยถูกขนานนามว่าเป็น “สตาร์บัคส์แห่งโลกตะวันออก” และมีเป้าหมายที่ต้องการการเสิร์ฟชาจีน 1.5 หมื่นล้านแก้วต่อปีให้คนทั่วโลก พร้อมสร้างวัฒนธรรมชาให้เป็นกลายไลฟ์สไตล์ระดับสากล ปัจจุบัน CHAGEE มีจำนวนกว่า 6,440 สาขาทั่วโลก โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจีนและตลาดหลักในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซียและสิงคโปร์
***แบบนี้ต้องเกาะติดแบบใกล้ชิดเลยล่ะ ต้องบอกว่าด้วยเพราะชื่อ “คมสันต์ แซ่ลี” ทำให้เจ๊อยากรู้เป็นพิเศษว่าก้าวเดินก้าวต่อไปของบริษัทนี้จะทำอะไรต่อไปนะ??? จะตื่นเต้นเหมือนเรื่องราวของสงครามส่งด่วนรึป่าว???
***ยังมีเรื่องดีๆ ของบริษัทอื่นๆ อีกนะเริ่มจาก TFG ปลื้มใจแทน! ตลาดหลักทรัพย์ฯคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET100/ SET100FF/SETESG ในช่วงครึ่งหลังปี 68 (1 ก.ค.-31 ธ.ค.68) ตอกย้ำปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง - สภาพคล่องสูง หนุนกองทุนทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มน้ำหนักลงทุน ผู้บริหาร"เพชร นันทวิสัย"ระบุตั้งเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 10-15% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง อานิสงส์ราคาหมู ไก่ ปรับตัวสูงขึ้นต้นทุนวัตถุดิบลด จากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
***เด่นสุดๆ ต้องยกให้ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน Fortune Southeast Asia 500 ประจำปี 2025 ในอันดับที่ 461 เป็นครั้งแรก จากนิตยสารชั้นนำระดับโลก Fortune ซึ่งคัดเลือก 500 บริษัทที่มีรายได้สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของ TEGH ในการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่การดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ และมุ่งสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ
***ว๊าวววว!!! เมื่อเร็วๆ นี้ TEGH ก้อเพิ่มเข้าทำเนียบ “บริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน” (ESG Emerging List) โดยได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อ ESG100 ประจำปี 2568 จากสถาบันไทยพัฒน์ สะท้อนความโดดเด่นของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนที่ผสานการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม บิ๊กบอสสวย+เก่ง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” ระบุ การติดโผ ESG100 ครั้งนี้ ไม่เพียงตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าร่วมกันทุกภาคส่วน แต่ยังเป็นการเสริมศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทในเมกะเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้านความยั่งยืนในระยะยาวแก่นักลงทุน
***ความเคลื่อนไหวของ SA ก็น่าสนใจไม่น้อย จากที่ได้ ได้เซ็น MOU กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ไซมิส แอนด์ เวลธ์ จำกัด (SWAM) เพื่อร่วมมือทางธุรกิจในด้านบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA)
***”สุนันทา สิ่งสรรเสริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม SA ระบุว่า “มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยความร่วมมือครั้งนี้จะต่อยอดขีดความสามารถในการพัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งจากทรัพย์หลักประกันและทรัพย์อื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ระยะยาว พร้อมยกระดับประสิทธิภาพในการบริหารทรัพย์สินด้อยคุณภาพทั้ง NPA และ NPL ให้สามารถพลิกฟื้นเป็นทรัพย์สินเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างมูลค่าใหม่อย่างยั่งยืน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อองค์กร ลูกหนี้ และเศรษฐกิจโดยรวม พร้อมนำพาทุกฝ่ายไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคง”