Talk of The Town

ย้อนรอย Trade War ในอดีต หนุนราคาทองคำพุ่ง 48-69% แนวโน้มไปต่อ...หรือพอแค่นี้!


08 พฤษภาคม 2568

ย้อนรอย Trade War ในอดีต_S2T (เว็บ)_0.jpg

นักลงทุนเริ่มตั้งคำถาม หลังทะยานต่อเนื่อง จากสิ้นปี 2567 ปิดที่ 2,600 ดอลลาร์/ออนซ์ ขึ้นมาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High) ที่ระดับ 3,500 ดอลลาร์/ออนซ์ ช่วงเดือนเมษายน 2568 หรือเพิ่มขึ้นราว 900 ดอลลาร์ 

ก่อนปรับฐานและเคลื่อนไหวในะดับ 3,400 ดอลลาร์/ออนซ์ ในเดือนพฤษภาคม 2568

...ราคาทองในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อนแรง! ภายในช่วงเวลา 4 เดือนเศษราคาทอง Gold Spot เพิ่มขึ้นกว่า 800 ดอลลาร์/ออนซ์ 

โดยราคาทองในประเทศตั้งแต่ต้นปี-7 พฤษภาคม 2568 เพิ่มขึ้น 10,000 บาท/บาททองคำ เทียบปี 2567 ทั้งปีราคาทองเพิ่มขึ้น 8,750 บาท/บาททองคำ ทองคำแท่งรับซื้อคืน 52,400.00 บาท ขายออก 52,300.00 บาท ทองรูปพรรณรับซื้อคืน 53,200.00 บาท ขายออก 51,362.08 บาท(อ้างอิงราคาทองแท่งวันที่ 7 พฤษภาคม 2568)

...ปัจจัยหนุนสำคัญมาจากสงครามการค้า (Trade War) รอบใหม่ ที่สหรัฐประกาศขึ้นกำแพงภาษีกับคู่ค้า 70 ประเทศทั่วโลกAusiris Next Gold Investment ย้อนรอยสงครามการค้าในอดีตเคยผลักดันราคาทองให้สูงขึ้นได้มากน้อยเพียงใด

...ตามมาดูกัน

1.กำแพงภาษี Smoot - Hawley ในปี ค.ศ. 1930 ของสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นวิกฤตโลก มาจากสภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หลังเหตุการณ์ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่มสลาย เดือนตุลาคม ค.ศ. 1929

ราคาทองปรับตัวขึ้นถึง 69% แสดงให้เห็นว่าความวุ่นวายทางการค้า ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ กระตุ้นนโยบายการเงินที่ส่งผลต่อราคาทองได้

2.สงครามการค้าสหรัฐฯ - จีน (ค.ศ. 2018–2020) มีชนวนเหตุ (มุมมองสหรัฐฯ) : สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีน การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การบังคับถ่ายทอดเทคโนโลยี และการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

สงครามดังกล่าวฯ ทำให้ราคาทองโลก ปรับตัวขึ้นถึง 48% สะท้อนบทบาทของทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

3.สงครามการค้ารอบใหม่ (ก.พ. 2025 - ปัจจุบัน) อัตราภาษีสูงขึ้นอย่างมาก เพราะ สหรัฐฯ ขึ้นภาษีกับจีนถึง 145% และจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 84% เป็นการยกระดับความขัดแย้งทางการค้า ทำให้ราคาทองคำปรับขึ้นมาแล้ว 22%

...ดูเหมือนว่าราคาทองรอบนี้ อาจเป็นแค่จุดเริ่มต้นของการออสตาร์ทรอบใหม่