วิเคราะห์นโยบาย 100 วัน “ทรัมป์” ชี้ “NATO-IMF-ภาษี-ดอลลาร์” 4 เสาหลักพลิกโฉมเศรษฐกิจโลก
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เผยบทวิเคราะห์นโยบาย 100 วัน ประธานาธิบดีทรัมป์ ชี้ “NATO-IMF-ภาษี-ดอลลาร์” 4 เสาหลักยุทธศสาตร์พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก เป็นไปตามแผน “ความโกลาหลที่ควบคุมได้” (Controlled Chaos) หวังปูทางสู่ความได้เปรียบในระยะยาว
นายธนธัช ศรีสวัสดิ์ นักกลยุทธ์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (Mr. Thanathat Srisawast, Strategist, TISCO Economic Strategy Unit) หรือ TISCO ESU เปิดเผยว่า การกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของโดนัลด์ ทรัมป์ ในระยะเวลาเพียง 100 วันแรก ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจและการเงินโลก ผ่านยุทธศาสตร์ 4 เสาหลัก ได้แก่ ความมั่นคง (NATO) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF-World Bank) การค้า (Tariff) และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ แม้หลายฝ่ายจะมองว่านโยบายไร้ทิศทาง แต่หากพิจารณาในเชิงลึก จะพบลักษณะของ “Controlled Chaos” หรือ “ความโกลาหลที่ควบคุมได้” ซึ่งน่าจะเป็นไปตามแผนที่ทรัมป์และทีมยุทธศาสตร์วางไว้ เพื่อนำไปสู่แผนการใหญ่ที่วอชิงตันต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโลกใหม่ ปูทางสู่ความได้เปรียบของสหรัฐฯ ในระยะยาว
สำหรับ 4 เสาหลักยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ประกอบด้วย
1.ด้านความมั่นคง (NATO) โดยผลักดันพันธมิตรสำคัญให้เพิ่มงบประมาณด้านกลาโหม เพื่อลดภาระการเงินของสหรัฐฯ เช่น การขู่ว่าจะยุติความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดแก่ยูเครน ส่งผลให้เยอรมันเพิ่มงบประมาณด้านการทหาร และสหภาพยุโรปริเริ่มมาตรการ EU ReArm เพื่อเร่งเพิ่มการลงทุนด้านยุทโธปกรณ์ อีกทั้งต้องจับตาญี่ปุ่น ที่ได้ประกาศว่าจะเพิ่มงบประมาณกลาโหมสู่ระดับ 2% ของ GDP อย่างยั่งยืน เพื่อให้การเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
2.ด้านการเงินระหว่างประเทศ(IMF และ World Bank)โดยผลักดันการปฎิรูปโครงสร้างและบทบาทองค์กรให้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการค้าไม่สมดุล การเกินดุลการค้าเรื้อรังของประเทศต่าง ๆ กับสหรัฐฯ และการมุ่งแก้ปัญหาความยากจนทั่วโลก โดยเฉพาะการขาดแคลนพลังงานที่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา และมองว่า World Bank ควรเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และแบ่งปันเทคโนโลยีพลังงานที่มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ อาทิ พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานนิวเคลียร์3.ด้านการค้าผ่านภาษีศุลกากร (Tariff) โดยใช้อัตราภาษีนำเข้าสูงเป็นเครื่องมือสร้างรายได้และเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้า เปลี่ยนจากที่เคยเป็นผู้นำผลักดันระบบการค้าเสรีและกระแสโลกาภิวัฒน์ สู่แนวคิดพาณิชย์นิยม (Mercantilism) และเล็งตั้งอัตราภาษีศุลกากรโดยรวมให้สูงถึง 15-20% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบศตวรรษ กดดันให้ประเทศคู่ค้า ที่ต้องพึ่งพาการส่งออกมายังตลาดสหรัฐฯ เร่งเข้าสู่การเจรจาหวังลดอัตราภาษีที่สูงมากให้ต่ำลง
4.ด้านการเงิน (Dollar) โดยบริหารจัดการค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ให้อ่อนค่าลง ขณะที่ยังสามารถรักษาความเชื่อมั่นและสถานะการเป็นสกุลเงินสำรองของโลกไว้ได้ ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากที่สุดของสหรัฐฯ เพราะส่วนหนึ่งต้องอาศัยผลลัพธ์จากการแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจของหลายประเทศที่เกินดุลการค้าเรื้อรัง ซึ่งจะช่วยลดความต้องการสะสมทุนสำรองในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และช่วยให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับอ่อนค่าได้อย่างมีเสถียรภาพ เมื่อเทียบกับสกุลเงินของคู่ค้าหลักของสหรัฐฯ (Trade-Weighted Dollar Index) ในระยะยาว
ทั้งนี้ TISCO ESU ประเมินว่า แม้นโยบายดังกล่าวจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนและตั้งอยู่บนความพยายามพลิกโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจโลกอย่างฉับพลันและรุนแรง แต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากการตอบโต้ของประเทศคู่แข่งทางเศรษฐกิจ เช่น จีน และแรงสั่นสะเทือนจากตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะแรงเทขายในตลาดพันธบัตรและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่หนักหนา และทำให้สหรัฐฯ ต้องถอยกลับมาตั้งหลักก่อน
"ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ ต้องเร่งพลิกโฉมเศรษฐกิจ คือ ปัญหา “หนี้สาธารณะ” ที่พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับอันตรายแตะ 36 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 120% ของ GDP และมีแนวโน้มทะลุ 200% ภายในปี 2593 ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ส่งผลให้ต้องพึ่งพาเงินทุนต่างชาติต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการให้กู้ยืมผ่านตลาดพันธบัตร และในรูปแบบเงินทุนผ่านตลาดหุ้น ส่งผลให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในบริษัทอเมริกันพุ่งขึ้นจากไม่ถึง 8% ใน 20 กว่าปีก่อน เป็นกว่า 18% หรือกล่าวได้ว่าราว 1 ใน 5 ของความเป็นเจ้าของกิจการในประเทศ ได้ตกไปอยู่กับต่างชาติ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งครั้งหนึ่งนักลงทุนในตำนานอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ถึงกับเคยเปรียบเปรยไว้ว่าไม่ต่างกับการขายชาติ (Selling the nation) เลยทีเดียว” นายธนธัช กล่าวสรุป
ยอดนิยม
_%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%20S2T.jpg)
ค่าเงินบาทวันนี้ 15 ก.ค. 2568

AIRA ตอกย้ำการเป็นธุรกิจชั้นนำทางการเงิน เล็งปั้นบริษัทลูก เข้าตลาดหุ้น ลุยสยายปีก ปักหมุด “ไอร่า พร็อพฯ” flagship ใหม่ สู่การเติบโตของรายได้ในกลุ่ม AIRA

วิกรานต์ ศุภมงคล เดินหน้าร่วมขับเคลื่อนโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) หนุนประเทศไทยสู่ฮับเศรษฐกิจโลก (Global Economic Hub)
.jpg)
จีเอเบิล เปิดบริการบน AWS Marketplace ตอกย้ำบทบาท “Tech Enabler” สู่เวทีโลก
.png)