จิปาถะ

ทำได้แล้ว! ซื้อขาย ‘โอนที่ดินออนไลน์’ กรมที่ดิน 20 จังหวัด เช็กขั้นตอนที่นี่


18 เมษายน 2567

ทำได้แล้ว! ซื้อขาย ‘โอนที่ดินออนไลน์’.jpg

กรมที่ดิน ประกาศว่า ประชาชนสามารถซื้อ-ขาย "โอนที่ดินออนไลน์" ได้แล้ว 20 จังหวัด 139 สำนักงาน โดยเป็นการจดทะเบียนต่างสำนักงานแบบออนไลน์ สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบ e-QLands เช็กพิกัดทั้ง 20 จังหวัด และเงื่อนไข ขั้นตอนการโอนที่ดินออนไลน์ได้ที่นี่


เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา กรมที่ดิน ได้ประกาศให้ประชาชนได้รับทราบว่า สามารถซื้อ-ขาย โอนที่ดินออนไลน์ ได้แล้ว 20 จังหวัด 139 สำนักงานทั่วประเทศ  โดยเป็นการจดทะเบียนต่างสำนักงานแบบออนไลน์ สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบ e-QLands 

กรมที่ดิน ให้ประชาชนซื้อ-ขาย โอนที่ดินออนไลน์ ได้แล้ว 20 จังหวัดดังนี้

1. กรุงเทพมหานคร
2. อุบลราชธานี
3. บึงกาฬ
4. หนองคาย
5. เชียงใหม่
6. สงขลา
7. สิงห์บุรี
8. ขอนแก่น
9. เพชรบุรี
10. นนทบุรี
11. ปทุมธานี
12. สมุทรปราการ
13. ฉะเชิงเทรา
14. นครนายก
15. นครปฐม
16. ชลบุรี
17. ระยอง
18. จันทบุรี
19. ตราด
20. นครราชสีมา

รวมทั้งหมด 139 สำนักงานกรมที่ดิน 

สกรีนช็อต 2024-04-18 101248.png

ขั้นตอนการโอนซื้อ-ขาย ที่ดินออนไลน์ 

-สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบ e-QLands โดยดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน e-QLands ผ่านสมาร์ทโฟนได้ทั้งระบบ IOS และ Android 
-เลือกรายการ “จองคิวจดทะเบียนต่างสำนักงานแบบออนไลน์ (เฉพาะโฉนดที่ดินและเป็นสำนักงานที่ดินอิเล็กทรอนิกส์)” 
-โดยเงื่อนไขในการให้บริการจะต้องเป็นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่มีการประกาศหรือรังวัด มีเอกสารหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเท่านั้น และเจ้าของที่ดินต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง

เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนดำเนินการโอนที่ดิน

เอกสารสำหรับฝั่งผู้ซื้อ

-บัตรประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
-ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
-หนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล พร้อมสำเนาหนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
-หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารสำหรับฝั่งผู้ขาย

-โฉนดที่ดิน
-บัตรประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
-ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
-หนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล พร้อมสำเนาหนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
-ทะเบียนสมรส พร้อมสำเนาใบทะเบียนสมรส (กรณีมีคู่สมรส)
-หนังสือยินยอมของคู่สมรส (กรณีมีคู่สมรส)
-ทะเบียนหย่า พร้อมสำเนาทะเบียนหย่า (กรณีที่หย่า)
-หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารอื่น ๆ

-หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล (กรณีที่ดินมีภาระผูกพันเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)

ขั้นตอนการโอนที่ดินแบบปกติ

1. ตกลงราคาและลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดิน

ผู้ขายและผู้ซื้อหาข้อสรุปและทำการตกลงราคาที่ดินให้เรียบร้อย พร้อมดำเนินการลงนามในเอกสารสัญญาซื้อขายที่ดิน ที่ระบุรายละเอียดของที่ดินผืนนั้น เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ เอกสารสิทธิ์ ภาระผูกพันต่าง ๆ อย่างชัดเจน

2. เตรียมเอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
กรอกคำขอในเอกสาร พร้อมแนบเอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินตามที่ระบุในข้างต้น แล้วนำไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่สำนักงานที่ดิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบเอกสาร และจะได้รับบัตรคิวเพื่อไปยื่นเรื่องโอนที่ดินกับเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน

3. ลงลายเซ็นในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และรับใบคำนวณค่าใช้จ่าย
ผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน จากนั้น เจ้าหน้าที่จะประเมินราคาที่ดินและคำนวณราคาค่าโอนที่ดินให้ พร้อมกับให้ใบคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปชำระเงินที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

4. ดำเนินการชำระเงิน
เมื่อดำเนินการชำระที่ฝ่ายการเงินเสร็จเรียบร้อย จะได้รับใบเสร็จสีเหลืองและสีฟ้า โดยใบเสร็จสีเหลืองให้นำส่งกับเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน ส่วนใบเสร็จสีฟ้าให้ถ่ายสำเนาเก็บไว้ โดยทำสำเนาให้ผู้ซื้อที่ดิน 1 ชุด และนำตัวจริงเก็บไว้ที่ผู้ขายที่ดิน 1 ชุด

5. รอรับโฉนดที่ดินฉบับใหม่
หลังจากชำระเงินเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเสร็จสิ้น ผู้ซื้อจะได้รับโฉนดที่ดินฉบับใหม่ พร้อมสัญญาซื้อขาย (ทด.13) ซึ่งถือว่าสิ้นสุดขั้นตอนการโอนที่ดิน

ข้อควรระวังในการโอนที่ดิน

-ตรวจสอบเอกสารประกอบการโอนที่ดินให้ครบถ้วนและถูกต้อง
-อ่านสัญญาซื้อขายที่ดินให้ละเอียดก่อนลงนาม
-ตรวจสอบภาระผูกพันต่าง ๆ ของที่ดิน
-เลือกโอนที่ดินกับสำนักงานที่ดินที่รับผิดชอบที่ดินผืนนั้น

สกรีนช็อต 2024-04-18 101557.png

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1120800