จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : ผู้บริหาร TIDLOR เปิดใจถึงผู้ถือหุ้น ส่งสาร 33 หน้ามั่นใจผลงานปี 67 ยังแข็งแกร่ง


18 มีนาคม 2567

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) ส่งสารถึงผู้ถือหุ้นความยาว 33 หน้า เน้นมุมมองเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินที่ทั่วถึง และผลประกอบการปีนี้ รวมถึงปัจจัยท้าทาย

รายงานพิเศษ TIDLOR.jpg

คงมีไม่มากที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะส่งสารไปถึงผู้ถือหุ้นโดยมีความยาวถึง 33 หน้า  สะท้อนถึงความตั้งใจในการบริหารจัดการบริษัทในปีนี้   

“ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล”  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่ได้เขียนสารถึงท่านผู้ถือหุ้น TIDLOR  มีความยาว 33 หน้า โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการแสดงออกถึงมุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินที่ทั่วถึงและครอบคลุม (Financial  Inclusion)  ส่วนที่สอง คือสรุปผลการดำเนินงานของเงินติดล้อในปีที่แล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจบริบทในการดำเนินธุรกิจและหลักการที่บริษัทใช้ในการตัดสินใจในการบริหารจัดการบริษัท

ในเรื่องการบริการทางการเงินที่ทั่วถึง “ปิยะศักดิ์” ระบุว่า หัวข้อที่มีการถกเถียงกันอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุดในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้กำหนดนโยบาย นักการเมืองและผู้ประกอบการ คืออัตราดอกเบี้ย  ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อทะเบียนรถของประเทศไทยถูกจำกัดไว้ที่ 24% ต่อปีและมีกฎระเบียบที่ชัดเจนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ รวมไปถึงลำดับการรับชำระหนี้ แนวทางการทำการตลาด และการคิดค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ ซึ่งในเรื่องนี้เราพบว่าโดยทั่วไปผู้กู้ยืมกลับมีมุมมองที่ตรงกันข้าม  

และบริษัทเห็นว่าอัตราดอกเบี้ย  24% ต่อปี ควรเพิ่มขึ้นในระยะสั้นถึงกลาง หากประเทศไทยต้องการต่อสู้กับปัญหาสังคมของหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนการสร้างผลกระทบต่อสังคมในการปล่อยสินเชื่อเพื่อลูกค้ารายย่อยไม่ใช่แค่การกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำเท่านั้น  เนื่องจากข้อมูลเชิงลึก พบว่า

1. ความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยถูกขับเคลื่อนด้วยความเร็วในการหมุนเวียนทางธุรกิจ

2. ผู้กู้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้มากกว่าอัตราดอกเบี้ย (ควรแยกพิจารณา แม้ทั้งสองสิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกัน)

3.อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปีเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับการกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้นอกระบบรวมถึงเพื่อนและครอบครัว

4. เงื่อนไขการกู้ยืม คุณภาพการบริการและมาตรฐานการติดตามทวงถามมีความสำคัญมากกว่าอัตราดอกเบี้ย

5. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามระดับความเสี่ยงเป็นแนวคิดที่ดีและน่าสนใจ แต่เป็นแนวคิดที่ยังไม่สมบูรณ์ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนมีความเหมาะสมกว่า

6.ผู้ให้กู้สามารถเลือกที่จะป้องกันหรือลดต้นทุนด้านความเสี่ยงได้

“ปิยะศักดิ์” ยังระบุถึง 4 หลักการในการลดปัญหาหนี้ นอกระบบและส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน ได้แก่

หลักการที่ 1 – เราต้องทำให้ผู้ให้สินเชื่อที่ได้รับใบอนุญาตสามารถแข่งขันกับเจ้าหนี้นอกระบบได้ ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยและลดความซับซ้อนด้านกฎระเบียบเพื่อแลกกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการคุ้ม ครองผู้บริโภคที่สูงขึ้น

หลักการที่ 2 - เรามีกฎหมายและข้อบังคับที่มีเจตนดีตอนนี้สิ่งที่เราต้องการคือการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้น ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารหลายรายที่ถือใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับ

หลักการที่ 3 - เราต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลระดับประเทศที่แข็งแกร่งมากกว่าธนาคารดิจิทัล

หลักการที่ 4 – เราจำเป็นต้องลงทุนให้ประชากรของเรามีความรู้ทางการเงินมากขึ้น

และสำหรับส่วนที่ 2  กล่าวถึงผลประกอบการและแนวโน้มของปีนี้  

โดย“ปิยะศักดิ์”  ได้สรุปสถานการณ์ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ ธุรกิจนายหน้าประกันภัย และธุรกิจในอุตสาหกรรมใกล้เคียง  ซึ่งยอมรับว่า การพัฒนาที่สำคัญอย่างไม่คาดคิด  คือ การบุกของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย  รวมทั้งเป็นปีที่ AI กลายเป็นกระแสหลัก  ส่วนธุรกิจสินเชื่อมีการเติบโตที่ช้าลง อัตรากำไรขั้นต้นที่น้อยลง  คุณภาพที่ยั่งยืน ความสามารถในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อและเงินทุน: สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อทุกคน แต่กระทบบริษัทน้อยกว่าคนอื่นอยู่บ้าง  และบริษัทยังคงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และปรับปรุงนโยบายการอนุมัติสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง

ส่วนธุรกิจนายหน้าประกันภัยของเรายังมีการเติบโตด้วยตัวเองในอัตราที่สูงกว่าตลาด ในขณะเดียวกันเรายังเพิ่มบริการและช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ

ทั้งนี้ความท้าทายในปัจจุบันที่เกิดจากการที่ตลาดมีผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว ต้นทุนการจัดหาเงินทุนที่สูงขึ้น ความเสี่ยงที่สูงขึ้น และอัตราการลาออกของพนักงานนั้น กำลังเป็นปัญหาที่หนักหน่วงสำหรับผู้ประกอบการทุกราย

สำหรับปีนี้ บริษัทจะเริ่มต้นปี 2567 ด้วยความสามารถในการเติบโตด้วยแหล่งเงินทุนทางด้านการเงินที่สูงขึ้น สัดส่วนค่าใช้จ่ายทางเทคโนโลยีที่ลดลง และแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในการสร้างศักยภาพในการดำเนินงาน  เนื่องจากความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการการช่วยเหลือลูกหนี้ในช่วงโรคโควิด-19  ลดลงอย่างมาก และอัตราส่วนเงินสำรองต่อหนี้สงสัยจะสูญของเราอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2565 เราเชื่อว่างบดุลของเรายังคงมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้

สำหรับท่านผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนที่สนใจสามารถอ่านจดหมายผู้ถือหุ้นTIDLOR ประจำปี 2566 ได้ที่เว็บไซต์ www.tidlorinvestor.com เยี่ยมชมข้อมูลเงินติดล้อเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.tidlor.com และ Facebook เงินติดล้อ