จิปาถะ

เปิดรายได้ สว. เช็ก 20 กลุ่ม อาชีพไหน รับผิดชอบด้านใดบ้าง


14 มีนาคม 2567
เปิดรายได้ สว.jpg

เปิดรายได้ของ สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. เงินเดือนเท่าไหร่ แบ่งเป็นค่าอะไรบ้าง พร้อมเช็ก 20 กลุ่มประเภทของ สว. อาชีพไหน รับผิดชอบด้านใด


เรียกว่าเป็นที่จับตามองของคนไทยเป็นอย่างมากสำหรับการรับสมัคร “สมาชิกวุฒิสภา” หรือ “สว.” หลังวุฒิสมาชิก (สว.) 250 คน จากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามบทเฉพาะ กาลของรัฐธรรมนูญ 2560 จะครบวาระห้าปี ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 นี้

เพราะเราต่างรู้กันดีกว่า สว. มีบทบาทสำคัญอย่างมากในเรื่องต่าง ๆ โดย สว. 250 คน จะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 20 กลุ่ม ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ดังนี้

1.กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
3. กลุ่มการศึกษา ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
4. กลุ่มสาธารณสุข ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
5. กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
6. กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
7. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งไม่ใช่ราชการหรือหน่วยงานรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อยตามกฎหมาย หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามกลุ่มที่ 9
11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตรกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
14. กลุ่มสตรี
15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
17. กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
18. กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
20. กลุ่มอื่นๆ

ค่าตอบแทน ส.ว.
-เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท
-เงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท
รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท นอกจากนี้ยังมีเบี้ยประชุมคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการในแต่ละครั้งที่ได้เข้าร่วมประชุม รวมถึงสิทธิสวัสดิการอื่น ๆ ด้านการรักษาพยาบาล

อีกทั้งยังสามารถมีผู้ช่วย 8 คน แบ่งเป็น
1. ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 คน เงินเดือน เดือนละ 24,000 บาท
2. ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน เงินเดือน เดือนละ 15,000 บาท
3. ผู้ช่วยดำเนินการประจำตัวอีก 5 คน เงินเดือน เดือนละ 15,000 บาท

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8136955