จิปาถะ

ถมสารพัดโปรเจ็กต์ ชนวน “พระราม 2” วิกฤต


08 มีนาคม 2567

ถมสารพัดโปรเจ็กต์.jpg

โครงการก่อสร้างของภาครัฐบนถนนพระราม 2 หรือ ทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ ที่มีระยะเวลาการก่อสร้างนาน จนส่งผลกระทบต่อการจราจรติดขัดในพื้นที่จนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากในอดีตมีการก่อสร้างขยายถนนมาโดยตลอด พบว่า ในปี 2513 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งครั้งแรกมีการก่อสร้างถนนขนาด 2 ช่องจราจร และเปิดใช้เส้นทางในปี 2516 จากนั้น ในปี 2532-2537 การก่อสร้างครั้งที่ 2 มีการขยายถนนเพิ่มเป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งมีการก่อสร้างทางต่างระดับ จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย ทางต่างระดับบางขุนเทียน, ทางต่างระดับสมุทรสาคร, ทางต่างระดับ สมุทรสงคราม และทางต่างระดับวังมะนาว ต่อมาในปี 2539-2543 การก่อสร้างครั้งที่ 3 โดยเป็นการขยายถนนบริเวณช่วงสามแยกบางปะแก้ว-ทางต่างระดับบางขุนเทียน จำนวน 14 ช่องจราจร แบ่งเป็นทางหลัก จำนวน 8 ช่องจราจร และทางคู่ขนานฝั่งละ 3 ช่องจราจร

ในปี 2544-2546 มีการก่อสร้างครั้งที่ 4 เป็นการขยายถนนเพิ่มเป็น 8-10 ช่องจราจรตามลำดับ จากเดิมที่มี 4 ช่องจราจร ระหว่างทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร ระยะทาง 22 กม. เพื่อรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการขยายการก่อสร้าง ช่วงดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกฯ จากบางบัวทอง-บางขุนเทียน ตอน 1-3, ในปี 2549-2552 มีการก่อสร้างครั้งที่ 5 มีการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายทางแยกต่างระดับวังมะนาว โดยมีการเพิ่มช่องจราจรเป็น 6-8 ช่องจราจร จากเดิมที่มี 4 ช่องจราจร เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์และช่วงเทศกาลต่างๆ

ต่อมาในปี 2561-2563 มีการก่อสร้างครั้งที่ 6 เป็นการขยายโครงการถนนพระราม 2 ระหว่างทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย โดยเป็นการเพิ่มช่องจราจรเป็น 14 ช่องจราจร จากเดิมที่มี 10 ช่องจราจร นอกจากนี้ยังมีหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-มหาชัย ซึ่งมีการก่อสร้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2562-2565, โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก ที่เริ่มก่อสร้างเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2563-2566 หลังจากนั้นยังคงมีการก่อสร้างโครงการฯอย่างต่อเนื่อง

ต่อมาในปี 2561-2563 มีการก่อสร้างครั้งที่ 6 เป็นการขยายโครงการถนนพระราม 2 ระหว่างทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย โดยเป็นการเพิ่มช่องจราจรเป็น 14 ช่องจราจร จากเดิมที่มี 10 ช่องจราจร นอกจากนี้ยังมีหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-มหาชัย ซึ่งมีการก่อสร้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2562-2565, โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก ที่เริ่มก่อสร้างเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2563-2566 หลังจากนั้นยังคงมีการก่อสร้างโครงการฯอย่างต่อเนื่อง

โดยกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้กรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  กำหนดบุคคลผู้ควบคุมงานเพื่อติดตามงานในแต่ละสัญญา โดยจะมีการติดตามงานและประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกๆ 2 เดือน เพื่อเร่งรัดผู้รับเหมาดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ คือทุกโครงการต้องจบภายในปี 2568

ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคม ได้ประสานงานร่วมกับกรมบัญชีกลาง โดยใช้มาตรการ ปรับลดระดับชั้นงานของผู้รับเหมาในกรณีที่ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแผน ซึ่งมาตรการนี้จะทำให้ผู้รับเหมามีความกังวลมาก หากบริษัทของผู้รับเหมาถูกปรับลดระดับชั้นงานจะทำให้ในอนาคตไม่สามารถเข้าร่วมประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทได้ และในกรณีที่ผู้รับเหมาทำงานล่าช้ากว่า 50% ของสัญญาในแต่ละเดือนมีสิทธิโดนยกเลิกสัญญา ซึ่งจะเริ่มตรวจผลงานผู้รับเหมาภายในเดือนเมษายนนี้ รวมทั้งการจัดทำสมุดพกตัดคะแนนผู้รับเหมาเข้าร่วมประมูลโครงการภาครัฐ ขณะนี้ทล.อยู่ ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน

ส่วนประเด็นที่ผู้รับเหมาบางรายยังมีความกังวลเรื่องค่าเคที่ยังไม่ได้รับจากภาครัฐ เบื้องต้นกระทรวงจะประสานงานร่วมกับสำนักงบประมาณเพื่อของบประมาณมาช่วยเยียวยาแก่ผู้รับเหมาที่มีสิทธิควรได้รับเงินชดเชยในเรื่องนี้ โดยปัจจุบันพบว่ามีผู้รับเหมาที่ยังไม่ได้รับเงินสูตรการคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) ในโครงการของทล.ทั่วประเทศประมาณ 2,519 ล้านบาท

หากการก่อสร้างไม่ผิดไปจาก แผน เชื่อว่าวิกฤต “พระราม2” จะคลี่คลาย และไม่ต้องหวาดผวาว่า จะมีอะไรตกหล่นใส่ศีรษะกันอีก!!