GISTDA เกาะติดสถานการณ์ 'ฝุ่นพิษ' PM2.5 แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" เมื่อเวลา 8.00 น. ของวันที่ 10 มกราคม 2567 พบว่า 25 จังหวัดของประเทศมี ค่าฝุ่น เกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง ขณะที่ กรุงเทพมหานคร พบ ค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง จำนวน 34 เขต
สำหรับจังหวัด 5 อันดับแรก ที่ ค่าฝุ่น เกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง คือ
- จ.อ่างทอง 141.4 ไมโครกรัม
- จ.ชัยนาท 134.2 ไมโครกรัม
- จ.นนทบุรี 122.5 ไมโครกรัม
- จ.ปทุมธานี 121 ไมโครกรัม
- จ.สิงห์บุรี 120.7 ไมโครกรัม
พบอีก 28 จังหวัด ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม โดย 3 อันดับแรกสีส้ม ได้แก่
- จ.สุโขทัย 74.6 ไมโครกรัม
- จ.นครราชสีมา 71.4 ไมโครกรัม
- จ.พิษณุโลก 70.7 ไมโครกรัม
ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร พบ ค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง จำนวน 34 เขต โดย 5 อันดับแรก คือ
- ดอนเมือง 181.2 ไมโครกรัม
- หลักสี่ 164.4 ไมโครกรัม
- สายไหม 119.8 ไมโครกรัม
- บางเขน 108.3 ไมโครกรัม
- หนองแขม 98.5 ไมโครกรัม
แอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" ยังคาดการณ์ปริมาณ'ฝุ่น PM2.5' ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น" มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ ค่าฝุ่น PM2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 พบ จุดความร้อน ทั้งประเทศ 310 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 136 จุด ตามด้วยพื้นที่เขต สปก. 72 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 47 จุด ชุมชนและอื่นๆ 38 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 13 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด และ โดยจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
- จ.ลพบุรี 36 จุด
- จ.กาฬสินธุ์ 18 จุด
- จ.สุรินทร์ 17 จุด
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน มากสุดอยู่ที่กัมพูชา 1,516 จุด ตามด้วย พม่า 270 จุด เวียนดนาม 228 จุด และ ลาว 181 จุด
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบรายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
ที่มา : คมชัดลึกออนไลน์
สำหรับจังหวัด 5 อันดับแรก ที่ ค่าฝุ่น เกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง คือ
- จ.อ่างทอง 141.4 ไมโครกรัม
- จ.ชัยนาท 134.2 ไมโครกรัม
- จ.นนทบุรี 122.5 ไมโครกรัม
- จ.ปทุมธานี 121 ไมโครกรัม
- จ.สิงห์บุรี 120.7 ไมโครกรัม
พบอีก 28 จังหวัด ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม โดย 3 อันดับแรกสีส้ม ได้แก่
- จ.สุโขทัย 74.6 ไมโครกรัม
- จ.นครราชสีมา 71.4 ไมโครกรัม
- จ.พิษณุโลก 70.7 ไมโครกรัม
ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร พบ ค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง จำนวน 34 เขต โดย 5 อันดับแรก คือ
- ดอนเมือง 181.2 ไมโครกรัม
- หลักสี่ 164.4 ไมโครกรัม
- สายไหม 119.8 ไมโครกรัม
- บางเขน 108.3 ไมโครกรัม
- หนองแขม 98.5 ไมโครกรัม
แอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" ยังคาดการณ์ปริมาณ'ฝุ่น PM2.5' ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น" มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ ค่าฝุ่น PM2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 พบ จุดความร้อน ทั้งประเทศ 310 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 136 จุด ตามด้วยพื้นที่เขต สปก. 72 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 47 จุด ชุมชนและอื่นๆ 38 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 13 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด และ โดยจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
- จ.ลพบุรี 36 จุด
- จ.กาฬสินธุ์ 18 จุด
- จ.สุรินทร์ 17 จุด
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน มากสุดอยู่ที่กัมพูชา 1,516 จุด ตามด้วย พม่า 270 จุด เวียนดนาม 228 จุด และ ลาว 181 จุด
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบรายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
ที่มา : คมชัดลึกออนไลน์