วานนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงดีดตัวได้ต่อเนื่องราว 0.2 - 0.3% จากแรงคาดหวังว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนได้จาก Bond Yield สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ และถ้าหากนับตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค. 66 Bond Yield 2 ปี ขยับลงราว 18 bps. ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ร่วงลงมาแล้วกว่า 30 bps. (เทียบเท่ากับการปรับลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง) โดยมุมมองดังกล่าวไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง แทนการหนีเข้า สินทรัพย์ปลอกภัย ทำให้ล่าสุด Dollar Index อ่อนค่าลงใกล้หลุด 100 จุดแล้ว

ส่วนการดำเนินนโยบายการเงินในบ้านเรา เชื่อว่าจะมีแนวโน้มที่ผ่อนคลายมากขึ้นในระยะถัดไป เพื่อให้เอื้อต่อการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงทิศทางของเงินเฟ้อไทยคาดว่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% ซึ่งเป็นระดับมติ ค.ร.ม. ได้อนุมัติไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (26 ธ.ค.)
ฝ่ายวิจัยฯ บล. เอเซีย พลัส นอก ได้ทำการประเมิน Senstivity พบว่า เงินเฟ้อบ้านเราอาจแตะที่ 3%YoY ในช้วงปลายปีหน้า ภายใต้สมมติฐาน CPI Growth ของไทยทุกเดือนในปี 2567 ขยายตัว 0.3%MoM อย่างไรก็ตาม CPI Growth ไทยในอดีตดีดตัวเกิน 0.3%MoM เกิดขึ้นไม่ได้บ่อยมากนัก จึงคาดว่าเงินเฟ้อไม่น่าสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแรงหนุนเปิดทางให้ กนง. ผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ง่ายขึ้น
สรุป เม็ดเงินยังไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงได้ดี บนความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนได้จาก Bond Yield สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ ส่วนในบ้านเราประเด็นเงินเฟ้อที่ฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการประเมิน Senstivity พบว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยากที่จะเกิดนกรอบเป้าหมายที่ 1-3% จึงเชื่อว่าเป็นแรงหนุนเปิดทางให้ กนง. ผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ง่ายขึ้น

ส่วนการดำเนินนโยบายการเงินในบ้านเรา เชื่อว่าจะมีแนวโน้มที่ผ่อนคลายมากขึ้นในระยะถัดไป เพื่อให้เอื้อต่อการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงทิศทางของเงินเฟ้อไทยคาดว่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% ซึ่งเป็นระดับมติ ค.ร.ม. ได้อนุมัติไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (26 ธ.ค.)
ฝ่ายวิจัยฯ บล. เอเซีย พลัส นอก ได้ทำการประเมิน Senstivity พบว่า เงินเฟ้อบ้านเราอาจแตะที่ 3%YoY ในช้วงปลายปีหน้า ภายใต้สมมติฐาน CPI Growth ของไทยทุกเดือนในปี 2567 ขยายตัว 0.3%MoM อย่างไรก็ตาม CPI Growth ไทยในอดีตดีดตัวเกิน 0.3%MoM เกิดขึ้นไม่ได้บ่อยมากนัก จึงคาดว่าเงินเฟ้อไม่น่าสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแรงหนุนเปิดทางให้ กนง. ผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ง่ายขึ้น
สรุป เม็ดเงินยังไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงได้ดี บนความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนได้จาก Bond Yield สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ ส่วนในบ้านเราประเด็นเงินเฟ้อที่ฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการประเมิน Senstivity พบว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยากที่จะเกิดนกรอบเป้าหมายที่ 1-3% จึงเชื่อว่าเป็นแรงหนุนเปิดทางให้ กนง. ผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ง่ายขึ้น
ยอดนิยม
%20copy_0.jpg)
ก.ล.ต. เผย “มงคล ประกิตชัยวัฒนา” ทยอยขายหุ้น KTC กว่า 195 ล้านหุ้น แถมเทขาย XPG อีกกว่า 630 ล้านหุ้น
_0.jpg)
หุ้นไทยรอบิ๊กตู่ช่วย? โบรกฯชี้ “ประยุทธ์” อาจคัมแบ็ค SET มีลุ้นเด้งแรง แตะ 1,200 จุด
_0.jpg)
SCC นำทัพรับอานิสงส์ หลังโอเปกพลัสจ่อเพิ่มกำลังการผลิต ฉุดต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลง
%20copy.jpg)
ทองคำไทยบวก 7 ปีติด! ครึ่งแรกปี 68 ราคาพุ่ง 8,200 บาท โกลด์แมนฯ ชี้ปีนี้อาจเห็น 4,000 เหรียญ
%20copy_0.jpg)