จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : เกณฑ์ ESG หนุนธุรกิจพลังงานสะอาด SSP เกาะกระแสโลกลุยลงทุนโรงไฟฟ้า


20 ธันวาคม 2566
ทั่วโลกตื่นตัวกับแนวทางการลดภาวะโลกร้อน  โดยเฉพาะการนำเกณฑ์ ESG มาใช้กำกับดูแลธุรกิจ   หนุนผลงาน บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) ที่เน้นลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด 

รายงานพิเศษ SSP.jpg

SCB EIC  ระบุว่า หลายภาคส่วนทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญประเด็นด้านESG  โดยเฉพาะภาครัฐในหลายประเทศที่ตื่นตัวมากขึ้น บ่งชี้จากเกณฑ์การกำกับที่มากขึ้น (จำนวนกฎระเบียบด้านESGทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากเป็นเท่าตัว จากปี 2016 ที่มีเพียง 55 กฎระเบียบ เพิ่มขึ้นเป็น 256 กฎระเบียบ ในปี 2021) 


ส่วนหนึ่งมาจากความร่วมมือกันของนานาประเทศผ่านความตกลงปารีสที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ในปี 2016 ยังผลให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนต้องให้ความใส่ใจและปรับตัวไปกับประเด็นESGโดยเฉพาะในภาคพลังงาน เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในสัดส่วนสูงถึงกว่า 70% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาทั่วโลก

ซึ่งแนวทางของการปรับตัวของธุรกิจโรงไฟฟ้า หากต้องการดำเนินธุรกิจที่สอดรับไปกับกิจกรรมสีเขียว Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 มุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจพลังงานฝั่งอุปทานในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และความเย็น รวมถึง การส่ง-จ่ายไฟฟ้า ทั้งนี้จากเกณฑ์ของ Thailand Taxonomy จะพบว่าไม่เพียงแต่กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเท่านั้นที่สามารถเป็นกิจกรรมสีเขียวได้  แต่กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลยังมีโอกาสในการปรับตัวเพื่อมุ่งไปสู่ธุรกิจสีเขียว 


จากเกณฑ์ของThailand Taxonomyระยะที่ 1 หากธุรกิจต้องการดำเนินกิจการให้สอดรับไปกับกิจกรรมสีเขียว ธุรกิจจำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และลมมากขึ้น เนื่องจาก Thailand Taxonomy ระบุว่าเป็นกิจกรรมสีเขียว (ยกเว้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับธุรกิจ/โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น การติดตั้ง Solar rooftop ในสถานีจำหน่ายน้ำมัน)


ปรับปรุงกระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของวัตถุดิบของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำและชีวภาพ เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ได้ตามมาตรฐานของ Thailand Taxonomy รวมถึงที่มาของวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ


มุ่งเน้นพัฒนา Green hydrogen เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพราะมีโอกาสที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติกลายเป็นกิจกรรมสีเขียวได้ หากหันมาใช้ Green hydrogen และตั้งเป้าปล่อย GHG ไม่เกิน 100 gCO2e/kWh ภายในปี 2040 และหลังปี 2040 ตั้งเป้าปล่อยไม่เกิน 50 gCO2e/kWh หลีกเลี่ยงการลงทุนใหม่ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เนื่องจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างหลังวันที่ 31 ธ.ค. 2023 และกลุ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินถือว่าเป็นกิจกรรมสีแดง

การลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังสะอาด  สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP)  ซึ่งบล.ดาโอ วิเคราะห์หุ้น SSP  โดยระบุว่า ธุรกิจยังคงเดินหน้าตามแผน โดย 

- โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเดินหน้าตามแผน ปัจจุบันโครงการ LEO2 (17MW) เตรียมเซ็นสัญญา EPC และทำ financial close ภายใน 4Q23E คงกำหนด COD 4Q25E ในขณะที่การซื้อหุ้นวินชัยเพิ่มเติมอีก 75% คาดแล้วเสร็จใน 1Q24E
- เตรียมเงินลงทุนในรูปแบบ M&A ไว้ราว 3-4 พันล้านบาท คาดมีดีลที่มีความคืบหน้าสามารถแจ้งให้ทราบได้ในช่วง 1H24E
- โครงการพลังงานทดแทน 170MW ในไทยที่ได้มาจะเริ่ม COD ในช่วงปี2027E-2030E รอทางหน่วยงานรัฐแจ้งมาเพื่อเข้าไปเซ็นต์PPA
- ยังคงเป้ากำลังการผลิตในระดับ 500MW จากปัจจุบันที่มีใน pipeline 271 MW


ดังนั้นบริษัทยังคงประมาณการกำไรปกติปี 2023E แนวโน้ม 4Q23E โตได้ QoQ จากปัจจัยฤดูกาล เรามี มุมมองเป็นกลางหลังธุรกิจมีพัฒนาการตามแผน และเรายังคงประมาณการกำไรปี 2023E ที่ 978 ล้านบาท (-4% YoY) โดยแนวโน้ม 4Q23E คาดโตได้ QoQ จากปัจจัยฤดูกาลโรงไฟฟ้าพลังงานลม
โดยให้ราคาเป้าหมาย 9.00 บาท อิง DCF (WACC 5.7%, TG 0%) Key catalyst คือการได้โครงการใหม่เพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ