จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : พาณิชย์หนุนเอกชนบุกตลาดจีน ติดปีก LEO ผู้นำกลุ่ม Logistics ส่งสินค้าทางราง


05 กันยายน 2566
พาณิชย์หนุนเอกชนไทยบุกตลาดจีนคู่ค้าอันดับ 1 และตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย  ส่งผลดีต่อ บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ หรือ LEO ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านธุรกิจรับส่งสินค้า รวมทั้งผลไม้สดไปยังประเทศจีน

รายงานพิเศษ LEO.jpg

นางอารดา  เฟื่องทอง  รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์  ระบุกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์รุกตลาดเดิม เปิดเพิ่มตลาดใหม่ และขยายการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก เพื่อขับเคลื่อนการส่งออกไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมทั้งการสร้างจุดแข็งให้สินค้าและบริการไทยด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในบริบทด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม 
ซึ่งเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์การค้าในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 และเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย โดยในปี 2565 จีนยังคงเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง และเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย การค้ารวมระหว่างไทย-จีน มีมูลค่า 105,211.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.34% โดยเป็นการส่งออก 34,400.77 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า 70,811.16 ล้านเหรียญสหรัฐ
         
ซึ่งสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังจีน 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและอบแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
          
โดยปัจจุบัน ผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีคุณภาพ นวัตกรรม และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทยที่จะต้องปรับตัว เพื่อรักษาตลาดและขยายธุรกิจเพิ่มเติมในจีน
การขยายตลาดไปใหนประเทศจีน  สอดคล้องกับทิศทางและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ หรือ LEO โดย “เกตติวิทย์  สิทธิสุนทรวงศ์”  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคาดการณ์ช่วงQ3 และQ4 บริษัทจะมีรายได้และกำไรขั้นต้นจากธุรกิจ Non-Freight เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จากรายได้ที่เข้ามาของธุรกิจ LEO Sourcing & Supply Chain และYJC Depot ที่เริ่มมีลูกค้าทยอยเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และจะช่วยให้บริษัทรักษาระดับการทำกำไรขั้นต้นและผลประกอบการให้เหมาะสม
นอกจากนี้ บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากการขนส่งสินค้าทางราง รวมถึงรับรู้รายได้และกำไรจากโครงการJV และM&A ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน Q3-Q4 นี้ เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรจากการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง
และล่าสุดเซ็นสัญญากับ บริษัท โกลบอล มัลติโมดัล โลจิสติกส์ จำกัด หรือ GML บริษัทย่อยของ PTT หรือบมจ.ปตท. ในการให้บริการให้เช่าตู้สินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Reefer Container) พร้อมด้วยอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า (Clip-on Genset) จำนวน 300 ตู้ สำหรับส่งสินค้าประเภทผลไม้สดไปยังประเทศจีน โดยสัญญามีระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจะสนับสนุนรายได้ในส่วนของ Non-Freight เติบโตมากขึ้น
ด้านฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้  ระบุทิศทางการลงทุนเดือนกันยายน 2566 ว่า ประเมินครึ่งเดือนแรกมีแนวโน้มที่ดัชนีจะปรับตัวดีกว่าครึ่งเดือนหลัง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET จะมีแนวต้านอยู่ที่ระดับจิตวิทยา 1,600 จุด โดยมีกรอบแนวรับอยู่ที่บริเวณ 1,500-1,520 จุด
         
ในเชิงกลยุทธ์ แนะนักลงทุนหาจังหวะทยอย Lock profit ในช่วงครึ่งเดือนแรกในกลุ่มหุ้นที่แนะนำ Selective มาก่อนหน้านี้ ซึ่งประเมินว่าจะยังเป็นช่วงที่สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกถูกประคับประคองได้อยู่ ส่วนในช่วงครึ่งเดือนหลัง แนะเข้าสู่โหมด Wait & See เพื่อป้องกันความผิดหวังที่อาจเกิดขึ้นจากการประชุม FOMC  
         
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าลงทุนใหม่จริงๆ ณ เวลานี้ที่ Valuation ของตลาดอยู่ในโซนเปราะบางแล้ว แนะนำโฟกัสไปยัง Sector ที่ราคาและ Valuation กองอยู่ในโซนล่าง โดยหากแบ่งออกเป็นประเภท ได้แก่ 
          
1) กลุ่ม Domestic สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรไปตามปัจจัยนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไม่มากก็น้อย ได้แก่ กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA) มองหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ PLANB, VGI, BEC, ONEE
          
2) กลุ่มที่อิงกับปริมาณการค้าขายในระดับโลก ซึ่งคาดว่าจะเห็นปัญหาการ Destocking ที่ลดลง และล่าสุดเริ่มเห็นการยืนทรงตัวได้ของตัวเลข PMI ภาคการผลิต นอกจากนั้น ยังเตรียมได้อานิสงส์หากรัฐบาลประกาศใช้นโยบายลดราคาพลังงานจริง มองไปยังกลุ่ม Logistics ที่ Earnings อยู่ในช่วง High season อาทิ III, LEO, SJWD, WICE
LEO