จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : COLOR ส่งโซลาร์ลอยน้ำ ร่วมคว้างาน EPC หนุนผลงานแกร่ง


27 มิถุนายน 2566
COLOR ผนึก PLANET คว้างาน EPC มูลค่า 347 ล้านบาท  โปรเจคโซลาร์ลอยน้ำ เหล็กสยามยามาโตะ ในนิคมฯมาบตาพุด  มั่นใจเป็น New S Curve หนุนผลงานโตแกร่ง

รายงานพิเศษ COLOR ส่งโซลาร์ลอยน้ำ.jpg

นายพีรพันธ์  จิวะพรทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ (COLOR) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา บริษัท เดอะบับเบิ้ลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่ม ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) (PLANET) ในโครงการบริการจัดการไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) ของบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด ภายใน บริเวณบ่อน้ำ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง มูลค่ารวม 347,228,189 บาท ซึ่งโครงการอยู่ภายใต้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและบริษัท ไฮเพาเวอร์ เอ็นเนอยี่ จำกัด  ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการให้บริการจัดการไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar)ของ เหล็กสยามยามาโตะ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

ทั้งนี้COLORและPLANETจะเป็นผู้ออกแบบ จำหน่าย และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (EPC)การผลิตทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar)ในโครงการดังกล่าวตามสัญญา

การลงนาม MOU ครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทฯ มีศักยภาพ และเป็นที่ยอมรับ เป็นบริษัทฯ ที่มีความชำนาญ และยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การขยายงานรวมถึงการรับงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนงานด้านธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งถือเป็นNew S Curve  ช่วยผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต นายพีรพันธ์ กล่าว

ด้านนายประพัฒน์  รัฐเลิศกานต์   ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด(มหาชน) (PLANET)กล่าวว่า PLANETได้รับการว่าจ้างบริษัท ไฮเพาเวอร์ เอ็นเนอยี่ จำกัด เข้าดำเนินการโครงการให้บริการจัดการไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar)ให้กับบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด 

ทั้งนี้จะมีขนาดกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 11,984 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) หลังจากการลงนามในสัญญาแล้วคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ180วัน นับจากวันลงนามในสัญญาและจะสามารถผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)ได้ภายในปีนี้ ช่วยหนุนรายได้ในปี 2566 ให้เติบโตแบบก้าวกระโดด

ถือเป็นก้าวแรกที่ดีหลังจากที่ PLANETได้จัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท แพลนเน็ตยูทิลิตี้ จำกัด (Planet Utility)ขึ้นมาเพื่อประกอบธุรกิจบริหารจัดการ ให้บริการผลิตน้ำประปาและไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายน้ำประปาหรือกระแสไฟฟ้า จากนั้นได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับ บริษัทย่อยของการไฟฟ้าแห่งชาติมาเลเซีย (Tenaga Nasional Berhad : TNB)เกี่ยวกับข้อเสนอในการร่วมมือสำรวจศักยภาพของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและการผลิตพลังงานในประเทศไทยเมื่อช่วงต้นปีนี้ ซึ่งจากนี้ มั่นใจว่าบริษัทฯ สามามรถขยายธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น เนื่องจากซึ่งมีหลายโครงการในอนาคตที่เรามีโอกาสต่อยอดได้งานเพิ่มมากขึ้น นายประพัฒน์ กล่าว

สำหรับความร่วมมือกับ COLOR ถือว่า  เป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน เป็นการต่อยอดจากธุรกิจเดิม และด้วยเทรนด์ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานทดแทนมีเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนนอกจากเป็นการสนับสนุนการเพิ่มรายได้ รวมถึงรองรับการขยายงานในอนาคตทั้งสองฝ่ายแล้ว ยังเป็นการสร้างพันธกิจสู่ความเป็นสังคม Carbon Neutrality ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้ผู้ประกอบการในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  ทั้งนี้PLANETยังคงเดินหน้าหาโอกาสที่จะลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ ตลอดจนหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อขยายโอกาสสร้างรายได้ตามแผนการลงทุนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง