จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : OTO จับกระแสเก็บภาษีปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลุยธุรกิจ “ซื้อขายคาร์บอนเครดิต”
12 มิถุนายน 2566
มาตรการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นอีกแนวทางที่ประเทศต่างๆ จะนำมาใช้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของภาคธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางธุรกิจของบมจ.วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO) ที่บุกตลาดด้านการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบครบวงจร สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับบริษัท
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 นี้ สหภาพยุโรป จะบังคับใช้มาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) และลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันจากผู้ผลิตต่างชาติ ที่มีมาตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นน้อยกว่าสหภาพยุโรป
โดยสินค้าไทยที่มีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้มี 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ พลาสติก เหล็ก และอะลูมิเนียม ซึ่งในปี 65 (เดือนม.ค.-ธ.ค.) พลาสติกมีมูลค่าส่งออกรวมอยู่ที่ 676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือสัดส่วน 2.4% เหล็กอยู่ที่ 201 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน 0.7% และอะลูมิเนียมอยู่ที่ 111 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน 0.4% ของมูลค่าสินค้าที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป
ซึ่งนอกจากสหภาพยุโรปแล้ว ยังมีประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายการเก็บภาษีคาร์บอน (Clean Competition Act: CCA) เพื่อกำหนดราคาคาร์บอนจากสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นที่ผลิตในประเทศและจากการนำเข้า CBAM ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 69
ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยควรให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Circular and Green economy model: BCG) ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนากระบวนการผลิตและการบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ถือเป็นการขับเคลื่อนสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะสามารถก้าวสู่โอกาสในการขยายตลาด
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ส่งออกจากประเทศอื่นที่ไม่สามารถปรับตัวรองรับตามมาตรการ CBAM ได้ทัน และจะเป็นประโยชน์ต่อไปสำหรับการเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวรองรับการดำเนินมาตรการ CBAM ของประเทศอื่นที่มีแนวโน้มจะบังคับใช้ในอนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น
ซึ่งแนวทางการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนของผู้ประกอบการ จึงเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจของบมจ.วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO) ที่ล่าสุด รองประธานกรรมการ นายบัณฑิต สะเพียรชัย เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด บริษัทย่อยของ บมจ. เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล (WAVE)
เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตธุรกิจพลังงานสะอาด ที่มีการขยายตัวเป็นอย่างมากและนับว่าเป็นเมกะเทรนด์ในปัจจุบัน เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้านการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบครบวงจร รวมถึงให้คำปรึกษาทั้งในส่วนของผู้ซื้อและผู้ขาย และเป็นผู้พัฒนาโครงการและจัดหาคาร์บอนเครดิต ทั้งจากพลังงานสะอาดและพลังงานอื่นๆ ในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
"บริษัทฯ วางแผนเดินหน้าธุรกิจสู่เทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้าง New S Curve โดยมั่นใจว่า บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด หรือ WAVE BCG จะช่วยผลักดันธุรกิจคาร์บอนเครดิต ด้านพลังงานสีเขียวและ Climate Tech ซึ่งอยู่ในเมกะเทรนด์ที่คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญ ให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต" นายบัณฑิต กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนขยายการลงทุน EV Bike และขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างรายได้ประจำ (Recuring Income) ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2566 เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 นี้ สหภาพยุโรป จะบังคับใช้มาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) และลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันจากผู้ผลิตต่างชาติ ที่มีมาตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นน้อยกว่าสหภาพยุโรป
โดยสินค้าไทยที่มีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้มี 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ พลาสติก เหล็ก และอะลูมิเนียม ซึ่งในปี 65 (เดือนม.ค.-ธ.ค.) พลาสติกมีมูลค่าส่งออกรวมอยู่ที่ 676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือสัดส่วน 2.4% เหล็กอยู่ที่ 201 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน 0.7% และอะลูมิเนียมอยู่ที่ 111 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน 0.4% ของมูลค่าสินค้าที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป
ซึ่งนอกจากสหภาพยุโรปแล้ว ยังมีประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายการเก็บภาษีคาร์บอน (Clean Competition Act: CCA) เพื่อกำหนดราคาคาร์บอนจากสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นที่ผลิตในประเทศและจากการนำเข้า CBAM ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 69
ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยควรให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Circular and Green economy model: BCG) ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนากระบวนการผลิตและการบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ถือเป็นการขับเคลื่อนสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะสามารถก้าวสู่โอกาสในการขยายตลาด
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ส่งออกจากประเทศอื่นที่ไม่สามารถปรับตัวรองรับตามมาตรการ CBAM ได้ทัน และจะเป็นประโยชน์ต่อไปสำหรับการเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวรองรับการดำเนินมาตรการ CBAM ของประเทศอื่นที่มีแนวโน้มจะบังคับใช้ในอนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น
ซึ่งแนวทางการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนของผู้ประกอบการ จึงเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจของบมจ.วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO) ที่ล่าสุด รองประธานกรรมการ นายบัณฑิต สะเพียรชัย เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด บริษัทย่อยของ บมจ. เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล (WAVE)
เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตธุรกิจพลังงานสะอาด ที่มีการขยายตัวเป็นอย่างมากและนับว่าเป็นเมกะเทรนด์ในปัจจุบัน เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้านการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบครบวงจร รวมถึงให้คำปรึกษาทั้งในส่วนของผู้ซื้อและผู้ขาย และเป็นผู้พัฒนาโครงการและจัดหาคาร์บอนเครดิต ทั้งจากพลังงานสะอาดและพลังงานอื่นๆ ในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
"บริษัทฯ วางแผนเดินหน้าธุรกิจสู่เทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้าง New S Curve โดยมั่นใจว่า บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด หรือ WAVE BCG จะช่วยผลักดันธุรกิจคาร์บอนเครดิต ด้านพลังงานสีเขียวและ Climate Tech ซึ่งอยู่ในเมกะเทรนด์ที่คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญ ให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต" นายบัณฑิต กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนขยายการลงทุน EV Bike และขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างรายได้ประจำ (Recuring Income) ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2566 เติบโตอย่างแข็งแกร่ง