กระดานข่าว

ผลสำรวจ UOB เผยภาคธุรกิจไทยมุ่ง ขยายโอกาสในภูมิภาครับมือผลกระทบภาษีสหรัฐฯ


09 กรกฎาคม 2568
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงาน UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยท่ามกลางความท้าทายจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา และความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทานโลก

S__118276590.jpg

นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO &  Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนถึงความสามารถของภาคธุรกิจไทยในการปรับตัวต่อความท้าทายระดับโลก ด้วยการมองหาโอกาสใหม่ในระดับภูมิภาค การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัล และการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ล้วนเป็นแนวทางที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในภาคธุรกิจในระยะยาว อย่างมั่นคง

นายสถิตย์ แถลงสัตย์  ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจสัมพันธ์ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ระบุผลสำรวจพบว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงจากร้อยละ 58 ในปี 2024 เหลือร้อยละ 52 ภายหลังการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา  โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กแสดงความกังวลมากที่สุด 

ซึ่งปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันคือ ต้นทุนการดำเนินงานและเงินเฟ้อ โดยร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 57 คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คืออสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการให้บริการ

ซึ่งภาคธุรกิจไทยได้ริเริ่มมาตรการสำคัญเพื่อรับมือสถานการณ์ได้แก่ การลดต้นทุน: ธุรกิจ 3 ใน 5 โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง (ร้อยละ 67) ได้ดำเนินการมาตรการลดต้นทุน  การเพิ่มรายได้: ธุรกิจจำนวนมากมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่และแสวงหาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์   ความต้องการการสนับสนุน: ธุรกิจให้ความสำคัญกับความช่วยหลือทางการเงิน (ร้อยละ 92) การสนับสนุนด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน (ร้อยละ 65) และการให้คำปรึกษาหรือฝึกอบรม (ร้อยละ 50) เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการปรับตัว

ขณะที่ความกดดันในห่วงโซ่อุปทานผลักดันให้ธุรกิจไทยมุ่งเน้นตลาดภูมิภาค  โดยร้อยละ 90 ของธุรกิจไทยมุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทว่ามาตรการภาษีของสหรัฐอเมริกากลับส่งผลให้ภาวะหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงขึ้น ร้อยละ 80 ของธุรกิจคาดว่าจะเผชิญความท้าทายเพิ่มเติมจากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง แนวทางสำคัญที่ธุรกิจจะใช้ในการรับมือ

และแม้ว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจจะตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน แต่มีเพียงร้อยละ 53 เท่านั้นที่ได้นำแนวทางปฏิบัติไปใช้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐฯ มากกว่าร้อยละ 60 คาดว่าจะเร่งดำเนินมาตรการเพื่อความยั่งยืน อุปสรรคสำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนที่สูง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมจ่ายราคาพรีเมียมสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ มากกว่าร้อยละ 30 อยู่ระหว่างการพิจารณานำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ พร้อมทั้งแสวงหาข้อมูลและคำปรึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางดังกล่าว