
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุแนวคิดตั้ง AMC ซื้อหนี้ของประชาชน ต้องติดตามการออกแบบ Business Model และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งจะสะท้อนประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของระบบการเงินไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ แนวคิดการซื้อหนี้เสียออกจากระบบของรัฐบาล โดยระบุว่า แนวคิดของภาครัฐในการตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อซื้อหนี้เสียออกจากระบบ โดยเฉพาะหนี้อุปโภคบริโภคของลูกหนี้รายย่อย สะท้อนการตระหนักของภาครัฐเกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหาหนี้เสียที่ค้างอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากผ่านวิกฤตมาหลายรอบ
แม้จุดเริ่มต้นของแนวคิดการจัดตั้ง AMC ในครั้งนี้ มีความเหมือนกับในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ตรงที่การมุ่งแยกหนี้เสียออกจากระบบ แต่ปัญหาในรอบนี้แตกต่างออกไป นั่นคือ หนี้เอ็นพีแอลทั้งธุรกิจและรายย่อยจำนวนไม่น้อยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และมาตรการช่วยเหลือจากทั้งธนาคารพาณิชย์และทางการ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ของลูกหนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ต้นทุนการบริหารจัดการหนี้เนื่องจากเป้าหมายการแก้หนี้ที่เน้นหนี้รายย่อย ปัญหา Moral Hazard ของลูกหนี้ และการแก้ไขปัญหาจากฝั่งรายได้เพื่อให้การแก้หนี้มีความยั่งยืน
แต่สุดท้ายนี้ การจัดตั้ง AMC จะมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของระบบการเงินไทยในรอบนี้เพียงใด คงขึ้นกับการออกแบบ Business Model และรายละเอียดต่างๆ ที่จะตามมา ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อหลังจากนี้
ยอดนิยม
_%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%20S2T.jpg)
ค่าเงินบาทวันนี้ 23 เม.ย. 2568
.jpg)
“เอกา โกลบอล” ประเมินโอกาสธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหารรับมือ ‘ทรัมป์’ สบจังหวะโอกาสผู้ประกอบการขยายตลาดใหม่กับกลุ่มประเทศคู่ค้า BIMSTEC

WICE ผู้ถือหุ้นไฟเขียว เคาะปันผล 0.14 บาท/หุ้น เดินหน้าพัฒนาแผนต่อเนื่อง ย้ำเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 15%

บล.เกียรตินาคินภัทร โชว์ศักยภาพด้านตราสารหนี้ คว้า 4 รางวัลใหญ่ จาก FinanceAsia และ The Asset
.jpg)