บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) ประกาศงบไตรมาส 3/2567 กวาดรายได้รวม 379 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% (YoY) กำไรสุทธิ 9 ล้านบาท ด้าน CEO “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ส่งซิกโค้งสุดท้ายปี 2567 น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปี ทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ ชี้ล่าสุดมี Backlog ที่เซ็นสัญญาไปแล้วกว่า 600 ล้านบาท

นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Made to Order) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 379 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% (YoY) และมีกำไรสุทธิ 9 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้จากธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า (Core Business) และธุรกิจพลังงาน จำนวน 380 ล้านบาท สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 934 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% (YoY) และ มีกำไรสุทธิ 28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 337% (YoY) เป็นผลจากความต้องการของอุตสาหกรรมด้านพลังงานในประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2567 นายพูลพิพัฒน์ มองว่า ธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้า มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าในอุตสาหกรรมพลังงานที่ทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ประกอบกับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส 1 เริ่มทยอย COD ขณะที่ภาคเอกชนมีดีมานด์การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นและล่าสุดในไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ ยังสามารถคว้างานใหม่จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เข้ามาอีกประมาณ 580 ล้านบาท ส่งผลให้ Backlog ในพอร์ตเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันที่มี Backlog ประมาณ 600 ล้านบาท พร้อมกันนี้ บริษัทฯ เร่งวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อขยายฐานการขายหม้อแปลงต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Made to Order) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 379 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% (YoY) และมีกำไรสุทธิ 9 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้จากธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า (Core Business) และธุรกิจพลังงาน จำนวน 380 ล้านบาท สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 934 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% (YoY) และ มีกำไรสุทธิ 28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 337% (YoY) เป็นผลจากความต้องการของอุตสาหกรรมด้านพลังงานในประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2567 นายพูลพิพัฒน์ มองว่า ธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้า มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าในอุตสาหกรรมพลังงานที่ทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ประกอบกับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส 1 เริ่มทยอย COD ขณะที่ภาคเอกชนมีดีมานด์การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นและล่าสุดในไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ ยังสามารถคว้างานใหม่จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เข้ามาอีกประมาณ 580 ล้านบาท ส่งผลให้ Backlog ในพอร์ตเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันที่มี Backlog ประมาณ 600 ล้านบาท พร้อมกันนี้ บริษัทฯ เร่งวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อขยายฐานการขายหม้อแปลงต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ยอดนิยม

WHA Group โชว์งบไตรมาส 1/2568 สุดพีค กวาดกำไรปกติเพิ่มขึ้น 61% (Y-Y)

ทรู คอร์ปอเรชั่น พลิกธุรกิจสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ รายงานกำไรสุทธิ ไตรมาสแรก 1.6 พันล้านบาท
%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%92%E0%B8%B4%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B53%20(1).jpg)
บางกอกแอร์เวย์ส ผนึกความยั่งยืน ร่วม OR เป็นสายการบินแรก ใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ที่ผลิตในประเทศไทย
.jpg)
FTI รายได้โค้งแรกปี 68 ที่ 203.78 ลบ. ยอดขายสินค้าพาณิชย์-อุตสาหกรรมเพิ่ม
.jpg)