โลกธุรกิจ

ชวนวิเคราะห์! งบ 5 แสนล้านบาท แจกเงินดิจิทัลกับลงทุนด้านคมนาคม แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน?


21 เมษายน 2567
โครงการ Digital Wallet ถือเป็นนโยบายหาเสียงสำคัญของรัฐบาลเพื่อไทยในครั้งการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า โครงการนี้เป็นนโยบายที่จะยกระดับเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศ และระดับประชาชน

ชวนวิเคราะห์! งบ 5 แสนล้านบาท copy_0.jpg
รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ตลอดจนยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน โดยจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยได้กว่า 1.2 - 1.6% จากกรณีฐานเดิม
สำหรับรายละเอียดผู้ได้รับสิทธิ ต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป เงินในบัญชีไม่เกิน 500,000บาท และเงินได้ทั้งปีภาษีต้องไม่เกิน 840,000บาทต่อปี รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับสิทธิจากโครงการนี้ 50 ล้านคนใช้วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท
ส่วนแหล่งเงินทำโครงการมาจาก 3 ส่วนคือ 1.งบประมาณปี 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท 2.งบประมาณปี 2568จานวน 152,700,และ3.กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. จำนวน 172,300 ล้านบาท จึงยังไม่ต้องออกพันธบัตรจานวนมากในช่วงเริ่ม และระหว่างดำเนินโครงการในทันที 
ดังนั้น ในภาพรวม จะคุ้มค่าหรือไม่ที่รัฐบาลแจกเงิน 5 แสนล้านบาท ให้กับคนจำนวน 50 ล้านคน และในขณะเดียวกันหากเรานำเงินจำนวน 5 แสนล้านบาท ไปลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ที่จะทำให้คนทั้งประเทศได้ร่วมกันใช้และเป็นเจ้าของ แบบไหนจะเกิดความคุ้มค่ากว่ากัน 
โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมระบุว่าได้เตรียมเปิดประมูล และจะเริ่มต้นก่อสร้างในปี 2567 จากแผนดำเนินงานในเบื้องต้น กระทรวงฯ ประเมินไว้ว่าจะผลักดันจำนวน 14 โครงการ วงเงินลงทุนรวมกว่า 5.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1.) รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร คาดเริ่มก่อสร้างในเดือน เม.ย.2567 
2.) สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี งานโยธา ฝั่งตะวันตก และงานระบบวงเงินลงทุนประมาณ 1.4 แสนล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างในเดือน พ.ค.2567 
3.) ขยายช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 4027 ช่วง บ.พารา - บ.เมืองใหม่ ค่าก่อสร้าง 510 ล้านบาท ระยะทาง 4.55 กิโลเมตร คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.2567

4.) Service Center ศรีราชา บน M7 ช่วงชลบุรี - พัทยา วงเงินลงทุน 1,615 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 2567 
5.) Service Area บางละมุง บน M7 ช่วงพัทยา - มาบตาพุด วงเงินลงทุน 766 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 2567 
6.) ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7) วงเงินลงทุน 4,508 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย. 2567
7.) ทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล. 402 กับ ทล 4027 และ ทล. 4025 วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย.2567 
8.) สายสีแดงช่วงรังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,468 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย.2567 
9.) สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา วงเงิน 10,670 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย.2567 
10.) รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี วงเงิน 37,527 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย.2567 
11.) สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช วงเงิน 4,694 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ก.ย.2567 
12.) ทางพิเศษ กะทู้ - ป่าตอง วงเงิน 14,670 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ต.ค.2567

13.) ทางพิเศษสายจตุโชติ - ถนนวงแหวนรอบนอกฯ รอบที่ 3 วงเงิน 24,060 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ย.2567
14.) รถไฟความเร็วสูง ไทย - จีน นครราชสีมา - หนองคาย วงเงิน 300,000 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค. 2567
โดยบทสรุปแล้วคงจะอยู่แต่ละมุมมองความคิดของแต่ละคนว่าจะมีมุมมองกันอย่างไร หลังจากที่ได้เห็นภาพแล้วว่างบลงทุน 5 แสนล้านบาทของภาครัฐนั้น จะได้ประโยชน์กับใคร และผลประโยชน์ตกอยู่กับใครบ้าง