คอลัมนิสต์

THE DARK NEWS
- 2019-11-12 16:11:49
- 2970
SHR เมื่อสิงห์..กล้าวัดรอยเท้าช้าง
THE DARK NEWS
By...เฮียขาว วินสีลม
SHR หรือ บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) เพียงแค่เข้าตลาดมาวันแรกราคาหุ้นก็ทิ้งดิ่งลงไปเกือบๆ 20% แบบนี้ถ้าจะเรียกว่าเป็นเพราะความซวยก็น่าจะพอเรียกได้
ความซวยที่ว่ามี 3 อย่างคือซวยที่แรก..ซวยเพราะวันที่ 8 พฤศจิกายน 62 เป็นวันสุดท้ายที่โคตรหุ้นอย่าง AWC จากค่ายเบียร์ช้างได้ปลดเครื่องหมาย ST และก็เป็นวันที่กองทุนหุ้นค้ำตลาดหรือที่รียกว่า Greenshoe Option ซึ่งเป็นชื่อเรียกของการยืมหุ้นของผู้บริหารออกมาขายพร้อมกับหุ้น IPO เพื่อหวังจะช่วยลดเหตุการณ์ที่ราคาหุ้น IPO เปิดมาต่ำกว่าราคาจองของ AWC ซึ่ง Greenshoe Option ที่ว่าก็ได้หมดอายุลงไปก่อน SHR จะเข้าตลาดเพียงแค่วันเดียว
ซวยที่สอง..เป็นเพราะ SHR ดันเลือกวันเปิดการซื้อขายวันแรก
(First Trading Day) เป็นวันที่
2 หลังจากที่ราคาหุ้นของ
AWC ร่วงลงไปเกือบๆ
11% (AWC ราคาร่วงแรงในวันที่
11 พ.ย.) และยังร่วงลงต่อเนื่องมาถึงวันที่ SHR เข้าตลาดเป็นวันแรกในวันที่ 12 พฤศจิกายน
62
ซวยที่สาม..ซวยจากการที่ SHR เป็นหุ้นที่มีทุกอย่างใกล้เคียงกับ
AWC แต่ว่า SHR ดันไม่มี
Greenshoe Option
เช่นเดียวกับที่ AWC เคยมี
จะเห็นได้ว่าความซวย 3 ประการของ SHR ถ้าไม่ได้เกิดขึ้นจากการเดินตามรอย AWC มันก็น่าจะเป็นเพราะการที่ SHR เกิดในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน..แต่ SHR กลับดันมาเข้าชื้อขายในตลาดฯช้ากว่า AWC ไปถึงหนึ่งเดือน
ทั้ง AWC และ SHR มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากเนื่องจากมีการลงทุนในธุรกิจโรงแรมหรือการให้เช่าอาคารสำนักงาน ในขณะที่สิ่งที่ทั้งสองบริษัทฯมีใกล้เคียงกันประกอบไปด้วย
1.
ACW
เป็นตัวแทนจากกลุ่มเบียร์ช้างของตระกูลสิริวัฒนภักดี
ในขณะที่ SHR เป็นตัวแทนมาจากกลุ่มเบียร์สิงห์ของตระกูลภิรมย์ภักดี (กลุ่มภิรมย์ภักดีถือหุ้นใน
SHR โดยทางอ้อม)
2.
หุ้น AWC เสนอขายในราคาจองซื้อหุ้นละ 6
บาท โดยมีค่า P/E = 277.6
เท่า และค่า P/BV 5
เท่า ราคาพาร์ 1
บาท ในขณะที่ SHR เสนอขายในราคาหุ้นละ
5.20 บาท
ราคาพาร์ 5 บาท
ค่า P/E = 162-174 เท่า
และ Book Value 5.2 บาทต่อหุ้น
แต่ทั้งสองบริษัทก็มีสิ่งที่แตกต่างกันแบบคนละขั้วอยู่นั้นก็คือ..
ในวันที่ AWC เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันแรกบริษัทฯมีผลกำไรจากการดำเนินงานต่อเนื่องและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบปกติ ในขณะที่ทางฟากของ SHR เข้าตลาดโดยการใช้ Market Capitalization
สาเหตุที่ SHR ต้องใช้เกณฑ์ Market Capitalization ในการเข้าตลาดก็เนื่องจากใน งวด 6 เดือนของปี 2562 บริษัทฯ ขาดทุนสุทธิ 201.9 ล้านบาทและบริษัทฯ คาดว่าในงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 บริษัทฯก็ยังคงมีผลการดำเนินงานที่ยังขาดทุน
และขณะนี้ทั้ง AWC และ SHR กำลังลดราคาหุ้นหน้ากระดานลงมาจนต่ำกว่าราคาจองซื้อหุ้น
IPO ไปแล้วเรียบร้อย
AWC มีราคาจองซื้อ IPO = 6.00 บาท และตอนนี้มีราคาหุ้นหน้ากระดาน =
5.30 บาท ราคาลดลงมาถึง
11.6% ในขณะที่ทาง SHR มีราคา IPO = 5.20 บาท ขณะนี้ราคาหุ้นหน้ากระดาน = 4.32
บาท เป็นลดราคาลงมาให้ชื้อถึง 16.92%
ดังนั้นถือได้ว่านาทีนี้ถ้ายังมีนักลงทุนที่สนใจและต้องการที่จะลงทุนในอภิมหาหุ้นทั้งสองโดยไม่สนใจรายละเอียดอื่นใดนอกจากการที่จะได้เป็นเจ้าของหุ้นตัวใหญ่ทั้งสองตัว..จังหวะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่โปรโมชั่นที่ดีมากๆ
ขอแค่จำเอาไว้สักนิดว่า “อะไรที่ว่าราคาถูกแล้ว..อาจจะมีที่ถูกกว่าก็เป็นไปได้” (ฮา)
- ผู้โพสต์ chalita
- 2019-11-12 16:11:49
- 2970
ความคิดเห็น